เมืองเสน่ห์กาหลง มหาเสน่ห์ มหาเมตตา มหานิยม
Khalong Amulet
ซ่อนแถบด้านข้าง

เรื่องของศีล

[คัดลอกลิงก์]
pungkung โพสต์เมื่อ 7-12-2011 09:12 | แสดงโพสต์ทั้งหมด



   ถูกต้องครับ ถ้าง่ายก็ได้กันหมดอ่าสิ  คริคริ
ตัวเลขทั้ง 7 ในเบอร์มือถือ สามารถบ่งบอกนิสัยตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ อย่ารอให้ชีวิตคุณดีก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเลขมือถือให้ดี คุณต้องเปลี่ยนเลขดีก่อน ชีวิตคุณถึงจะดี!! ตัวเลขเสียๆ มักดึงดูดพลังงานเสียๆ เข้ามาทำให้เราผิดหวังในชีวิต ตรงกันข้าม ตัวเลขดีๆ มักดึงดูดพลังงานด้านดีๆ เข้ามาในชีวิต ผนวกกับบุญกรรมเก่าของแต่ละคนว่าจะไปสุดที่ตรงไหน เลขบางตัวเหมาะกับคนหนึ่ง แต่เป็นเลขเสียกับอีกคนหนึ่ง ศาสตร์พลังงานเลขมือถือ บางส่วนอิงจากโหราศาสตร์ไทย บางส่วนมาจากการเก็บสถิติ ศาสตร์เลขมือถือต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ในการวางตัวเลขมือถือให้เหมาะสม หลายคนเมื่อทราบผลการวิเคราะห์เบอร์มือถือของตนแล้วว่า ดี ร้าย อย่างไร แต่ยังพร้อมยอมทนใช้อยู่ ไม่รู้ทำไม เหตุผลง่ายนิดเดียว "เพราะทุกคนมีกรรมเป็นของตน" เมื่อถึงเวลา ฟ้าจะเปิดทางให้ท่านเปิดใจรับเรื่องมงคลดีๆ เข้ามาเสริมความรุ่งเรืองชีวิตท่านเอง จงจำไว้ ดวงคนเลือกเบอร์มาใช้เอง เบอร์ใครเบอร์มัน ไม่ซ้ำกัน หากท่านศรัทธาในศาสตร์พลังตัวเลขแล้ว ขออย่าลังเล หรือสงสัย อย่ารีรอทนใช้เบอร์เสียๆ เพื่อดึงดูดเรื่องร้ายๆ มารอเพื่อส่งผลแล้วค่อยเปลี่ยนเบอร์มือถือ วันนี้ คุณมีทางเลือกใช้ชีวิตแบบติดเทอร์โบได้ มัวช้าอยู่ทำไม? บริการวิเคราะห์เบอร์มือถือ วางเลขมงคล เรื่องการงาน การเงิน ความรัก โทร 09ุ ุ42282289 LINE ID: cholvibul
camry โพสต์เมื่อ 7-12-2011 10:05 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ผมได้อ่านบางส่วนที่ท่านว่าแล้ว ผมก็มองว่าสันใหญ่มันก็จับต้องไม่ได้
ผมเคยสรุปให้เพื่อนๆในเมื่องฟังนอกรอบว่า
ท่านกินอะไรกินไปเถิดแต่อย่ามีเจตจำนงค์ในการกินเพื่ออย่างอื่นที่จะเป็นการเจตนาตัดชีวิตเขา
ผักเราปลูกได้เราเลยรู้สึกเองว่าไม่ผิด (เราไม่ไช่ผัก) ผักมีจิตไม่ต่างจากสัตว์และสัตย์
(ลองสังเกตุสิต้นไม้ที่ีคนอยู่บ้านกับต้นไม้ที่เป็นบ้านร้าง หรือแม้กระทั้งตัวบ้่านเอง)
ผมเคยคิดว่าเข้าใจคนนี้เป็นอย่างดีแต่พอเจอเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ผมรู้ว่าเราไม่รู้จักใครดีพอหรือคิดแทนได้
หรือแม้จะให้คนอื่นเข้าใจเรายิ่งเป็นไปได้อยาก(ถ้าหากเขาไม่เห็นได้จับได้เข้าใจด้วยตัวเขา)
แต่ผมเชื่อว่าเปลี่ยนตัวเองได้ทุกครั้งที่เราต้องการ
pungkung โพสต์เมื่อ 7-12-2011 10:30 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ผมได้อ่านบางส่วนที่ท่านว่าแล้ว ผมก็มองว่าสันใหญ่มั ...
ต้นฉบับโพสโดย camry เมื่อ 7-12-2011 10:05



   อย่าคิดมากคิดไปก็เสียเวลาครับ เอาเวลาไปนั่งวิปัสนาภาวนาเยอะ หยุดคิดทิ้งตำราให้หมด เด๋วรู้เอง และต้องเชื่อตัวเองอย่ามานั่งคิดคิดเท่าไหร่ก้อคิืดไม่ออกหรอกต้องหยุดคิดจึงจะรู้แล้วรู้จริงๆครับ ภาวนาเยอะๆเวลามันมามันจะมาของมันเองครับ หยุดคิดนะไม่งั้นไม่รู้
camry โพสต์เมื่อ 7-12-2011 11:25 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ตอบกลับ 63# pungkung


    ถูกท่านชักพักจะมีคำตอบของแต่ละคน (ทุกท่านไม่เหมือนกันสมดุลพลังงานสมดุลจิตต่างกัน)
uunws โพสต์เมื่อ 7-12-2011 22:36 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ผมได้อ่านบางส่วนที่ท่านว่าแล้ว ผมก็มองว่าสันใหญ่มั ...
ต้นฉบับโพสโดย camry เมื่อ 7-12-2011 10:05


เห้อออ.....ยังจะมาหาว่าพืชมีจิตอีก ...เอ้าๆๆ..เอาเข้าไป

เอามาให้อ่านอีกรอบนะ....อ่านดีๆหล่ะ



"สังขาร" แปลว่า สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น หมายถึงสิ่งที่ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ ได้คุมกันเข้าจากจุดที่ย่อยที่สุดที่เรียกว่า "ธาตุ" เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม สิ่งทั้งหลายในโลกเกิดขึ้นจากการเกาะกุมของกลุ่มย่อยๆ ทำให้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตขึ้นในโลก มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นปกติ มี 2 อย่าง คือ

1.อุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารมีใจครอง ได้แก่สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประกอบด้วยธาตุ 6 ย้ำให้อ่านดีๆนะ!!!!(จะได้ไม่เถียงข้างๆคูๆอีกเหอๆ) ธาตุ 6 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ และวิญญาณ เกาะกุมกันเข้า เรียกว่า เป็นคน เป็นสัตว์ สังขารนี้แหละเรียกว่า สังขารมีใจครอง สามารถเคลื่อนไหว ไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ

2.อนุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารไม่มีใจครองกล่าวโดยสรุปได้แก่ ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมเข้ากันเป็นส่วนย่อยๆ เช่น ดิน ทราย ต้นไม้ พืช รถ เรือ เครื่องบินฯ นานาชนิดว่ากันไป สรุปรวมกันเป็นสังขารเหมือนกัน คือ สังขารที่ไม่มีใจครอง ไม่สามารถจะเคลื่อนไหวไปไหนๆ ได้เองตามลำพัง




ในเมื่อพืชเป็นสังขารประเภท "อนุปาทินนกสังขาร" คือ สังขารที่ไม่มีใจครอง เพราะ พืชประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้วยังจะมาหาว่า พืชมี "จิต" มีธาตุ"วิญญาณ"เพิ่มเข้ามาอีก ไปกันใหญ่แล้ว , และ พืชเนี่ยะ มันไม่สามารถเคลื่อนไหวไปไหนๆได้เองตามลำพัง จะเคลื่อนไปไหนมาไหนได้ก็ต้องอาศัยปัจจัยอื่นช่วย เช่น ลม , มนุษย์ ฯ แล้วแบบนี้ยังจะมาเรียกว่า พืช มี "จิต" มี "วิญญาณ" ได้อีกมั๊ย?????



จะได้ตอบได้ซักทีว่า "พืชไม่ใช่สัตว์อย่างที่คุณคิด" เพราะสัตว์คืออุปาทินนกสังขาร คือสังขารที่มีใจครอง เพราะประกอบไปด้วยธาตุ 6 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ และ"วิญญาณ"





ทำความเข้าใจใหม่นะ เหอๆๆ
uunws โพสต์เมื่อ 8-12-2011 00:51 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขล่าสุด uunws เมื่อ 8-12-2011 00:55

หนูก็ลงท้ายไปแล้วนะอ่านเสียหน่อยสิ

คุณมุ่งเอาแค่ประโยชน์ในปัจจุบันที่จับต้องได้ แต่ไม่มองประโยชน์ที่แท้จริงไปกว่านั้นคือประโยชน์ในอนาคต และประโยชน์ที่สูงที่สุดคือ"ปรมัตถ์"

ทั้งๆที่บอกว่า เป็นชาวพุทธ"เชื่อกฎแห่งกรรม" แต่กลับปฏิเสธ"ประโยชน์ในอนาคต"และประโยชน์สูงที่สุด คือ"ปรมัตถ์" หรือ พระนิพพาน....ไม่ขัดกันเองไปหน่อยหรือคุณ???




เรื่องนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงตรัสเทศน์สั่งสอนไว้แล้ว ในเรื่องของ "อัตถะ" แปลว่า ประโยชน์ คุณเคยทราบบ้างหรือเปล่าหล่ะ??? ถ้าไม่ทราบจะยกมาอธิบายนะ

"อัตถะ" หมายถึง "ประโยชน์" ผลที่มุ่งหมายหรือจุดหมายที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัท เพื่อให้ได้รับประโยชน์ มี 3 ประการ คือ

1.ทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์ในภพนี้ ได้แก่ ประโยชน์ที่บุคคลจะพึงได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ต้องการของบุคคลทั้งหลาย คือ ความสุข

2.สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์ในภพหน้า ได้แก่ ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปคือมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี และเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า สำเร็จได้ด้วยธรรม 4 ประการ คือ ศรัทธา,ศีล,จาคะ,ปัญญา

3.ปรมัตถะ หมายถึง ประโยชน์อย่างยิ่ง ได้แก่ พระนิพพาน ซึ่งหมายถึงการละกิเลสทั้ง10กองในสังโยชน์  "นี้คือประโยชน์อันสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจะพึงถึงได้"





พระธรรม คือ คำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในธรรมชาติ แล้วนำมาสอนพุทธบริษัท ให้ได้รู้ ให้ได้เห็น และให้ได้เข้าถึงจริง มีพระนิิพานเป็นเป้าหมาย

พระพุทธองค์ก็ทรงเคยตรัสไว้ว่า ความรู้ที่พระองค์ทรงพบนั้น ความจริงมีมากมายมหาศาลเหลือเกิน แต่ที่นำมาสั่งสอนนี้ เทียบได้แค่เพียงใบไม้หยิบมือเดียวในป่าเท่านั้น

เพราะอะไรพระพุทธองค์จึงไม่นำความรู้ที่ตรัสรู้ทั้งหมดมาสั่งสอนให้หมดหล่ะ?ทำไมถึงนำมาสั่งสอนเพียงแค่หยิบมือเดียว?

คำตอบก็คือ.....สิ่งที่พระองค์ทรงนำมาสั่งสอนนั้น เป็นคำสอนที่มุ่งทำลายกิเลส เพื่อพระนิพพาน.......ความรู้อย่างอื่นไม่ได้มีประโยชน์เช่นนี้พระองค์จึงไม่ทรงนำมาสอน




แล้วในทะเบียนบ้าน,บัตรประชาชน ก็มีระบุชัดใช่มะ ว่า "นับถือศาสนาพุทธ" นี่ไงประเด็นเลย ประเด็นหลักใหญ่ใจความสำคัญเ้ลย

นั่นก็แสดงว่าเราเป็น "พุทธศาสนิกชน" แล้ว แล้วเราเองผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนเนี่ยะ เคยประพฤติตัวตรงกับความหมายของพุทธศาสนิกชนบ้างมั๊ย?



"พุทธศาสนิกชน" หมายถึง คนที่ตกลงใจน้อมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำตัวประจำชีวิต ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมองต่างๆ.......(พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์)




สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดทั้งมวล เพื่อละกิเลส และสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน นั่นก็คือ "พระธรรม" พระทรงทรงตรัสบอกแนวทาง วิธีการ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย ไว้ในรูปของ "พระธรรม" หมดแล้ว แต่คุณกลับปฏิเสธ "พระธรรม" ปฏิเสธคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต่างอะไรกับการปรามาสพระรัตนตรัย



หนูเองยังอยู่ในช่วงของการศึกษาในภาคปริยัติ เพื่อจะปฏิบัติตามแนวทางที่กล่าวไว้ภาคปริยัตินั้น เพื่อให้เกิดผลจริงในปฏิเวธ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้

แต่คุณดูเหมือนจะเพิกเฉยไม่ให้ความสำคัญในด้านปริยัติ แต่มาเริ่มภาคปฏิบัติทันที ปฏิบัติแบบไม่มีทิศทาง แล้วอย่างนี้มันจะเกิดผลปฏิเวธได้อย่างไรเล่า???





ถ้าเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของศีลและปฏิบัติตามให้ถึงเป้าหมายนั้นแล้ว สมาธิก็จะเกิดมีขึ้นตามมา และแสงสว่างของปัญญา คือ "ความรอบรู้ในกองสังขาร" ก็จะเกิดมีขึ้นมาได้ในที่สุด




อย่าเอาความเห็นส่วนตัวไปใช้ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลยคุณ

เนื้อหาที่พี่เค้านำเรื่องศีลมาลงเปิดในต้นกระทู้นี้....เนื้อหาก็มีใน"คัมภีร์วิสุทธิมรรค"นั่นแหละ ไม่คลาดเคลื่อนหรือผิดไปจากนี้เลย ลองไปอ่านดูนะ

แต่อย่ามองด้านเดียวนะ ควรอ่านเรื่อง สมาธิ,เรื่องปัญญา ต่อไปให้จบเล่มด้วย.....แล้วจะรู้ว่า"ศีล"เนี่ยะ...เค้าปฏิบัติกันไปเพื่ออะไร....

ที่แน่ๆ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงในเบื้องปลายสุดมันไม่เหมือนกับความคิดเห็นส่วนตัวของคุณแน่นอน






"ศีลยังไม่มี แต่กลับมีสมาธิ กลับมีปัญญาเกิดขึ้นได้แบบนี้.......แปลกประหลาดมากมาย เหอๆๆๆๆ"
uunws โพสต์เมื่อ 8-12-2011 01:55 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ธรรมะบังพระธรรม  ธรรมะเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม สำผัส แ ...
ต้นฉบับโพสโดย Naiin เมื่อ 7-12-2011 08:58



เอ่อออ.....หนูว่าพี่เข้าใจอะไรผิดแผกแปลกไปหรือเปล่า????  


พระธรรม หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมเรียกว่า "พระธรรมวินัย" แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.ปริยัติธรรม 2.ปฏิปัตติธรรม 3.ปฏิเวธธรรม

ซึ่งมีรวบรวมเป็นหมวดหมู่อยู่ใน "พระไตรปิฎก" ถือว่าเป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ

1.พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องของศีลของภิกษุและภิกษุณี

2.พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องของพระธรรมเทศนาทั่วไป มีทั้งประวัติและท้องเรื่องประกอบ


3.พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยเรื่องของ"ธรรมะ"ล้วนๆ ไม่มีทั้งประวัติและเรื่องประกอบ เป็นข้อ"ธรรมะ"ล้วนๆ




แล้วที่หนูพิมพ์มาให้อ่านทั้งหมดนี่นะ...อยู่ในส่วน "พระอภิธรรมปิฎก" นะ หนูใช้ "ธรรมะในพระธรรม" มาใช้อธิบายทั้งหมด.........(แยกแยะทำความเข้าใจก่อนนะว่าระหว่าง "ธรรมะ" กับ "พระธรรม" สิ่งใดเป็นหลักใหญ่ สิ่งใดเป็นองค์ประกอบในหลักใหญ่นั้น)


*********สรุปว่า พระธรรม ไม่ใช่สภาวะทั้งหมดอย่างที่พี่บอกมานะ เพราะ พระธรรมมีทั้ง ภาคปริยัติ,ภาคปฏิบัติ,และภาคปฏิเวธ  .........,และที่สำคัญ "ธรรมะ"ไม่ใช่รูปธรรม แต่เป็น"นามธรรม" ที่รอการพิสูจน์ให้เห็นจริง "ไม่มีธรรมะบังพระธรรม" อย่างที่พี่บอกไว้หรอก เพราะ"ธรรมย่อมไม่ขัดธรรมอยู่แล้ว"*********   
Naiin โพสต์เมื่อ 8-12-2011 05:05 | แสดงโพสต์ทั้งหมด


พระพุทธรูปบังพระพุทธเจ้า คัมภีร์บังพระธรรม ลูกชาวบ้านบังพระสงฆ์

การที่พระพุทธอย่างที่คนทั้งหลายนับถือยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านี้ว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็สามารถจะบันดาลสิ่งต่างๆให้ได้ อย่างนั้น เป็นการบังไม่ให้เห็นพระพุทธเจ้าองค์จริง คือว่าถ้าไปติดอยู่เพียงแค่นั้น ก็ไปไม่ถึงพระพุทธคุณ มีพระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ พระบริสุทธิคุณ ที่เรียกว่า กราบพระไม่ถึงพระ ติดอยู่ที่พระพุทธรูปปางนั้นๆ

ทีนี้มาพูดถึงคัมภีร์บังพระธรรม คือถ้ามัวแต่อ่านคัมภีร์ ศึกษาคัมภีร์ ยึดมั่นถือมั่นแต่คัมภีร์ แต่ว่าไม่ได้ปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง ทำให้คัมภีร์นั้นมาบังพระธรรม คือว่าหลงอยู่ในคัมภีร์ ติดอยู่ในคัมภีร์ คิดว่าการได้เล่าเรียนนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เปรียญสาม ถึงเปรียญเก้า ได้เรียนอะไรต่ออะไรที่เขาเรียนกันอยู่มากมาย ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จแล้ว ก็เลยนอนกอดคัมภีร์อยู่อย่างนั้น ไม่ได้ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม คือว่าไม่ได้เอาธรรมที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาปฏิบัติให้บังเกิดผลขึ้น ก็เรียกว่า คัมภีร์มาบังพระธรรมตัวจริง เพราะว่าพระธรรมตัวจริงนั้นอยู่ที่การปฏิบัติ แต่ว่าการศึกษาเล่าเรียนเป็นการนำเข้าไปเป็นแผนที่ที่บอกทางให้ว่าเราควรจะไปทางไหน  ควรจะไปอย่างไร อันนี้ถ้าเผื่อไม่ได้นำมาปฏิบัติก็เป็นการว่า เอาคัมภีร์มาบังพระธรรม


ถ้าคนนับถือพระสงฆ์ที่เพียงแต่นุ่งเหลืองห่มเหลือง โกนศีรษะเป็นพระสงฆ์ โดยไม่คำนึงถึงข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ ไม่ได้คำนึงถึงสังฆคุณ ที่ว่าสุปฏิปันโน ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรง ญายปฏิปันโน ปฏิบัติเพื่อญายธรรม คือธรรมที่ควรรู้ หรือนิพพาน สามีจิปฏิปันโนปฏิบัติชอบ ไม่มีคุณสมบัติอย่างนี้ แล้วก็ไปบำรุงลูกชาวบ้านที่มาบวชเป็นพระสงฆ์  เพื่ออาชีพ หรือเพื่ออะไรก็แล้วแต่ โดยไม่มีคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่แท้จริง อย่างนี้เขาเรียกว่าลูกชาวบ้านบังพระสงฆ์
Naiin โพสต์เมื่อ 8-12-2011 05:11 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขล่าสุด Naiin เมื่อ 8-12-2011 05:15





เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป
บัว ๔ เหล่า ได้แก่

๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปจิตัญญู)

๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)



หนึ่งคือบัวพ้นน้ำล้ำคุณค่า
สุริยาจรัสแจ้งแสดงผล
ผลิดอกบานทันทีที่แย้มยล
เปรียบดั่งคนรู้ธรรมล้ำปัญญา

สองคือบัวปริ่มน้ำตามวิถี
ลุราตรีผ่านพ้นบนความเขลา
จึ่งผลิดอกเบ่งบานสานวัยเยาว์
ปัญญาเจ้าปานกลางหว่างบุคคล

สามคือบัวใต้น้ำตามความหมาย
วันเคลื่อนคลายผ่านพ้นจนสมาน
บัวเจริญงดงามท่ามชลธาร
ชูช่อบานดั่งใจในสักวัน

สี่คือบัวจมโคลนจนหม่นหมอง
หมดครรลองพบทางกระจ่างใส
ต้องจมปลักโคลนตมทับถมไป
สุดท้ายไซร้เป็นภักษาเต่าปลาปู

บัวสี่เหล่าสี่กอที่ก่อเกิด
ต่างกำเนิดจากโคลนตมบ่มนิสัย
ต่างผลลัพธ์ต่างพงศ์จำนงนัย
มโนมัยด้วยธรรมล้ำปัญญา
Naiin โพสต์เมื่อ 8-12-2011 05:32 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
นามธรรม และรูปธรรม ได้แสดงมาแล้วมากมาย ส่วนบัญญัติธรรมได้กล่าว ถึงบ้างแต่เพียงเล็กน้อย เหตุนี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงบัญญัติธรรมโดยมีข้อ ความละเอียดพอประมาณ ในตอนท้ายปริจเฉทนี้ด้วยการเริ่มคาถาที่ ๒๘ และ ๒๙ ว่า
๒๘. ตตฺถ รูปธมฺมา รูปกฺ         ขนฺโธ วาติ วิชานิยา
จิตฺตเจตสิกกฺขาตา         จตุขนฺธา อรูปิโน ฯ
๒๙. อสงฺขตํ นิพฺพานญฺจ         อิติ ปญฺจวิธํ อิทํ
อรูปนฺติ จ วเกฺยน         นามนฺติ จ ปวุจฺจติ ฯ
แปลความว่า ธรรมเหล่านั้น(คือ บัญญัติธรรม นามธรรม รูปธรรม) รูปธรรม ทั้งหลายพึงทราบว่า เป็นรูปขันธ์อย่างเดียว อรูปขันธ์ ๔ นั้น ได้แก่ จิต เจตสิก ซึ่งเป็น สังขตธรรม
อรูปขันธ์ ๔ และรวมนิพพาน ๑ ซึ่งเป็นอสังขตธรรมเข้าไปด้วยเป็น ๕ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าเรียก อรูปก็ได้ เรียกนามก็ได้
คาถาทั้ง ๒ นี้ แสดงถึงรูปนาม ย้ำให้รู้ว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนั้นเรียกว่า รูปขันธ์อย่างเดียว ส่วนนามธรรม คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นขันธ์และเป็นฝ่ายสังขตธรรม กับนิพพาน ที่เป็นขันธวิมุตติ และเป็นฝ่ายอสังขตธรรม รวมนามธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้เรียกว่า อรูปก็ได้ เพราะนาม ธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ ไม่มีรูป ไม่ใช่รูป จึงเรียก อรูป
๓๐.         อวเสสา จ ปญฺญตฺติ         ตโต จ นามรูปโต
ปญฺญาปิยตฺติ ปญฺญฺตติ         สรปญฺญาปนโต ตถา
ทุวิชา ปญฺญตฺติ โหติ         อิติ วิญฺญูหิ จิตฺติตํ ฯ
แปลความว่า ส่วนธรรมที่เหลือจากรูปธรรม นามธรรมนั้น ชื่อว่า บัญญัติ บัญญัติธรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปญฺญาปิยตฺตาปญฺญตฺติ และ ปญฺญาปนโต ปญฺญตฺติ ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายได้บัญญัติไว้แล้วดังนี้
หมายความว่า นอกจากสภาวธรรมอันเป็นรูปธรรม และนามธรรมแล้ว ยังมี บัญญัติธรรมอันเป็นอสภาวะ คือเป็นธรรมที่ไม่มีสภาวะ แต่เป็นธรรมที่สมมติขึ้น ตั้งขึ้น บัญญัติขึ้น เพื่อจะได้ใช้พูดจาว่าขานกันให้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้
บัญญัติธรรมนี้ จำแนกโดยประเภทใหญ่แล้ว มี ๒ ได้แก่ ปัญญาปิยัตตา บัญญัติ หรือ อัตถบัญญัติ ๑ และ ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ อีก ๑
ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียก อัตถบัญญัตินั้น บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความแห่งรูปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะอาการของชื่อนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้านเรือน ยืน เดิน เป็นต้น
ปัญญาปนโตบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียกว่า สัททบัญญัตินั้น บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้จักเสียงที่เรียกชื่อนั้น ๆ คือ รู้ด้วยเสียง รู้ด้วยคำพูด ที่หมายถึง อัตถบัญญัตินั้น เช่น ในขณะที่ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นต้นไม้ แต่เมื่อออกเสียง พูดว่า ภูเขา พูดว่า ต้นไม้ ก็รู้และเข้าใจได้ว่า ภูเขา ต้นไม้ มีรูปร่าง สัณฐาน อย่างนั้น ๆ หรือพูดว่ายืน พูดว่าเดิน ก็รู้และเข้าใจได้ว่ามีกิริยาอาการอย่างนั้น ๆ
ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ
ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ หรืออัตถบัญญัตินี้ จำแนกออกได้เป็น ๖ ประเภท ตาม สิ่งที่ได้อาศัยบัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เป็นชื่อนั้น ๆ คือ
๑. สัณฐานบัญญัติ เป็นการบัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยรูปทรง ส่วนสัด สัณฐานของวัตถุนั้น ๆ มาเรียกขานกัน เช่น ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ ทะเล จาน ชาม มีด จอบ เสียม เป็นต้น
๒. สมูหบัญญัติ เป็นการสมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยความประชุมของวัตถุ ต่าง ๆ มาเรียกขานกัน เช่น เกวียน บ้าน เรือน โบสถ์ ศาลา เป็นต้น
๓. สัตตบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัย รูปร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์ ๕ มาเรียกขานกัน เช่น คน เป็ด ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
๔. ทิสากาลาทิบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัยเวลาที่พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาวต่าง ๆ หมุนเวียนไปตามทิศต่าง ๆ นั้นมาเรียกขานกัน เช่น ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก วัน เดือน ปี เป็นต้น
๕. ถูปคูหาทิบัญญัติ บ้างก็เรียก อากาสบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัย ช่องว่างที่มหาภูตรูป ๔ ไม่ติดต่อกัน อันบุคคลไม่ได้ทำไม่ได้ขุดขึ้น แต่เป็นของเกิด ขึ้นเอง เช่น หลุม โพรง เหว ถ้ำ เป็นต้น
๖. นิมิตบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัยเครื่องหมาย ข้อนี้มีความหมาย กว้างขวางมาก เช่น นิมิตของกัมมัฏฐาน ก็มี บริกัมมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาค นิมิต เป็นต้น นิมิตของสัณฐาน เช่น สุภนิมิต สวย งาม น่ารัก น่าชม อสุภนิมิต ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง เป็นต้น นิมิตของกิริยาอาการ เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้น
ทั้ง ๖ นี้ เป็นอัตถบัญญัติ เป็นเงาของเนื้อความ ไม่มีปรากฏโดยปรมัตถสัจจ กำหนดเปรียบเทียบเรียกเอาอย่างนั้นเอง เพื่อให้รู้อย่างเดียวกันยังกันและกันให้รู้ทั่ว ว่า สิ่งนี้ชื่อนั้น สิ่งนั้นชื่อนี้ นี่แหละจึงได้ชื่อว่า ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ คือ บัญญัติ เป็นเหตุยังกันและกันให้รู้ทั่ว
ปัญญาปนโตบัญญัติ
ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ หมายถึงคำพูดที่บุคคลได้ออกเสียง เรียกขาน เมื่อต้องประสงค์ในกาลภายหลัง ตามชื่อที่ตั้งไว้แต่ก่อนแล้วนั้น
ปัญญาปนโตบัญญัตินี้ มีชื่อเรียกได้ถึง ๖ ชื่อ คือ
๑. ชื่อว่า นามบัญญัติ หมายความว่า มีสภาพน้อมสู่เนื้อความ และทำให้เนื้อ ความนั้นน้อมสู่ตน เช่นคำว่า ภูเขา ก็น้อมตามเนื้อความว่าเป็นเนินที่สูงขึ้นเป็น จอมใหญ่ เมื่อพูดว่า ภูเขา ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า หมายถึงเนื้อความอย่างนั้น
๒. ชื่อว่า นามกัมมบัญญัติ หมายความว่าชื่อต่าง ๆ เหล่านั้นแหละเป็นชื่อ ที่พึงเรียกกันโดยทั่วไป
๓. ชื่อว่า นามเธยยบัญญัติ หมายความว่า ชื่อต่าง ๆ เหล่านั้น นักปราชญ์ ทั้งหลายได้ตั้งชื่อไว้ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว
๔. ชื่อว่า นิรุตติบัญญัติ หมายความว่า นักปราชญ์ได้พิจารณาคิดตั้งขึ้น สมมติขึ้น ซึ่งถ้อยคำนั้น ชื่อเหล่านั้นจึงปรากฏมีขึ้นมา
๕. ชื่อว่า พยัญชนบัญญัติ หมายความว่า เป็นถ้อยคำที่สามารถแสดงเนื้อ ความให้รู้ให้ปรากฏได้
๖. ชื่อว่า อภิลาปบัญญัติ หมายความว่า ผู้ที่พูดย่อมนึกถึงเนื้อความ คือ รูปร่างสัณฐานของวัตถุนั้น เช่น ภูเขา แล้ว จึงเปล่งเสียงพูดออกมา
รวมความว่า ไม่ว่าคำใดคำหนึ่งก็ตาม ภาษาใดภาษาหนึ่งก็ตาม เช่น คำว่า ภูเขา ก็มีชื่อเรียกได้เป็น ๖ อย่าง มี นามะ นามกัมมะ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้
สัททบัญญัตินี้ เรียก นามบัญญัติก็ได้ อันหมายเฉพาะว่าเป็นนามบัญญัติ ดังที่กล่าวในข้อ ๑ ข้างบนนี้
สัททบัญญัติจำแนกได้เป็น ๖ ประเภท
ปัญญาปนโตบัญญัติ  หรือ สัททบัญญัติ  จำแนกได้เป็น ๖ ประเภท คือ วิชชมานบัญญัติ  อวิชชมานบัญญัติ  วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ  อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ  วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ  และ อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ  มีความหมายโดยย่อ ดังต่อไปนี้
๑. วิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีคำเดียว และคำนั้นมีสภาวปรมัตถปรากฏ อยู่ เช่นคำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิต เจตสิก นิพพาน เป็นต้น
๒. อวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีอยู่คำเดียวเหมือนกัน แต่คำนั้นไม่มี สภาวปรมัตถปรากฏอยู่ เป็นโลกโวหารโดยแท้ เช่นคำว่า ภูเขา ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ แมว สุนัข เป็นต้น
๓. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ คำแรกเป็นปรมัตถ คำหลังเป็นโลกโวหาร เช่น อภิญญา ๖, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗
คำว่า อภิญญา พละ  โพชฌงค์ เป็นคำปรมัตถ คือ วิชชมานบัญญัติและอยู่ หน้า ส่วนเลขที่บอกจำนวน ๖ , ๕ หรือ ๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน บัญญัติและอยู่หลัง จึงเรียกว่า วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ
๔. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำเหมือนกัน แต่คำแรก เป็นโลกโวหาร คำหลังเป็นปรมัตถ เช่น ฉฬภิญฺโญ ปญฺจพโล สตฺตโพชฺฌงฺโค
คำที่บอกจำนวน ฉฬ=๖,ปญฺจ=๕,สตฺต=๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน และอยู่ข้างหน้า ส่วนคำว่า ภิญฺโญ=อภิญญา,พโล=พละ,โพชฺฌงฺโค=โพชฌงค์ ซึ่ง เป็นปรมัตถ คือ วิชชมาน และอยู่หลัง ดังนั้นคำบาลี ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้จึงเป็น อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ
๕. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำหลัง เป็นปรมัตถด้วยกันทั้งคู่ เช่น จักขุวิญญาณ โลภจิต โลกุตตร อภิญญา เป็นต้น
๖. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ  เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำ หลังเป็นโลกโวหารด้วยกันทั้งคู่ เช่น ราชบุตร ราชรถ ภรรยาเศรษฐี พี่สะใภ้ น้องเขย เป็นต้น
สรุปพอให้จำง่ายได้ดังนี้
วิชชมานบัญญัติ        เป็นคำปรมัตถ
อวิชชมานบัญญัติ         เป็นคำโลกโวหาร
วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ         คำปรมัตถอยู่หน้า คำโลกโวหารอยู่หลัง
อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ         คำโลกโวหารอยู่หน้า คำปรมัตถอยู่หลัง
วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ          คำหน้าและคำหลังเป็นปรมัตถทั้งคู่
อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ          คำหน้าและคำหลังเป็นโลกโวหารทั้งคู่
คำพูดทั้งหลายเป็นบัญญัติทั้งนั้น
คำปรมัตถ คือ คำที่มีสภาวปรมัตถปรากฏอยู่นั้น เป็นคำที่มีลักขณาทิจตุกะ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐาน
คำโลกโวหาร คือ คำที่ไม่มีสภาวปรมัตถปรากฏอยู่นั้น เป็นคำที่ไม่มีลักขณา ทิจตุกะ

แสดงความเป็นไปที่รู้ความหมายของสัททบัญญัติ
มีคาถาที่แสดงถึงวิถีจิตที่ให้รู้ความหมายในสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ และการ ตั้งชื่อให้ปรากฏแก่ชนทั้งหลาย เป็นทำนองปัจฉิมคาถาแห่งบัญญัติธรรม รวม ๒ คาถา คือ
๓๑. วจีโฆสานุสาเรน         โสตวิญฺญาณวีถิยา
ปวตฺตานนฺตรุปฺปนฺน         มโนทฺวา รสฺส โคจรา ฯ
๓๒. อตฺถา ยสฺสานุสาเรน         วิญฺญายนฺติ ตโต ปรํ
สายํ ปญฺญตฺติ วิญฺเญยฺยา         โลกสงฺเกต นิมฺมิตาฯ
แปลความว่า
บุคคลทั้งหลาย ได้รู้ถึง อัตถบัญญัติ คือ วัตถุสิ่งของ เรื่องราวต่าง ๆ โดยเป็น ไปตามนามบัญญัติ ภายหลังจากนามัคคหณวิถี นามบัญญัติซึ่งเป็นอารมณ์ของ นามัคคหณวิถีที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งโสตทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถี สมูหัคคหณวิถี ซึ่งเกิดขึ้น เป็นไปตามคำพูดนั้น นักศึกษาพึงทราบนามบัญญัตินั้นว่า นักปราชญ์ทั้ง หลายย่อมตั้งขึ้นอนุโลมไปตามโวหารของโลก ทีละเล็กละน้อย
หมายความว่า เมื่อได้ยินเสียงตลอดจนรู้ความหมายนั้น วิถีจิตเกิด ๕ หรือ ๔ วิถี ซึ่งได้กล่าวแล้วในคู่มือการศึกษาวิถีสังคหวิภาค ปริจเฉทที่ ๔ ตอน ตทนุวัตติ กมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ขอให้ดูที่นั่นประกอบด้วย ในที่นี้จะ กล่าวซ้ำแต่เพียงโดยย่อ คือ
๑. ได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏอยู่ เป็นวิถีแรก ชื่อ โสตวิญญาณวิถี
๒. รู้เสียงดับไปแล้ว เป็นวิถีที่ ๒ ชื่อ อตีตัคคหณวิถี
๓. รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นวิถีที่ ๓ ชื่อ สมูหัคคหณวิถี แต่ถ้าเสียงนั้นพยางค์ เดียว วิถีนี้ก็ไม่มี เพราะไม่ต้องมีการรวมเสียงแต่อย่างใด
๔. รู้นามรู้ชื่อว่าเสียงนั้นเป็นอะไร เช่นรู้ว่า เป็นเป็ด เป็นไก่ เป็นต้น เป็น วิถีที่ ๔ ชื่อ นามัคคหณวิิถี
๕. รู้ความหมายแห่งรูปร่างสัณฐานว่า เป็ด ไก่ มีรูปร่างส่วนสัดเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นวิถีที่ ๕ ชื่อ อัตถัคคหณวิถี
สัททบัญญัติและอัตถบัญญัติ ที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็เพราะนักปราชญ์  ทั้งหลายในอดีตและปัจจุบัน ได้บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น อนุโลมไปตามโวหาร ของโลกทีละเล็กทีละน้อย แม้ต่อไปในอนาคต ก็จะต้องมีการบัญญัติขึ้นใหม่อีก เรื่อย ๆ ตลอดไป ให้สมกับที่เรียกว่า เป็นความเจริญรุ่งเรืองของชาวโลก



สรุปง่ายๆคือ สภาวะธรรม คือ ธรรมที่มีสภาวะจริงได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
camry โพสต์เมื่อ 8-12-2011 05:57 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
โชคดีที่ผมเป็นคนปลูกต้นไม้ ผมถึงได้ยินเสียงของต้นไม้
Naiin โพสต์เมื่อ 8-12-2011 06:09 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขล่าสุด Naiin เมื่อ 8-12-2011 06:16



ต้นไม้เนี่ย ถ้าเราร้องเพลงให้มันฟัง พูดกับมันดีๆมันก็จะเจริญงอกงอม โตวันโตคืน  แต่ตรงกันข้าม ถ้าเราด่ามัน ว่ามัน ต่างๆนาๆ กลับจาเหี่ยวเฉา แคะแกน ก็ยัง ยืนยัน นอนยันน่ะ ไม่เปลี่ยนคำพูด ว่าพืชและต้นไม้ มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึก รับรู้ได้ แต่มันไม่มีชีวิต
camry โพสต์เมื่อ 8-12-2011 08:38 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ไม่ว่ากันนะครับ เรามันตาบอดคำช้างเพื่อหาแนวทางบรรลุธรรม
บางคนทราบบางเรื่อง(แต่อาจเป็นสิ่งลวงก็ได้)บางคนรู้หมด(ทั้งเข้าใจและไม่เข้าใจ)ถือว่ามุมมองไหนมีประโยชน์ก็นำไปตรองดูเพื่อเป็นแนวทาง
ส่วนที่เห็นไม่เป็นประโยชน์ก็ทิ้งไป(มีสิทธิเต็มที่ในการเลือก). สมองคุณมันเป็นวัตถุมงคลชนิดหนึ่งใช้มันให้ถูกทาง
camry โพสต์เมื่อ 8-12-2011 15:03 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ผมพูดอีกครั้งว่าคนที่รู้จักตัวเองดีที่สุดคือผู้ที่รู้สติ ทำอะไรจะไม่เสียใจหรือเสียดายในสิ่งที่ทำ(ไม่เดือดร้อนคนอ้ื่นด้วย)
Naiin โพสต์เมื่อ 8-12-2011 16:43 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ผมพูดอีกครั้งว่าคนที่รู้จักตัวเองดีที่สุดคือผู้ที่ ...
ต้นฉบับโพสโดย camry เมื่อ 8-12-2011 15:03



     ปุจฉา คนที่รู้จักตัวเองดีที่สุด คือผู้ที่รู้สติ  ผู้ที่รู้สติ เป็นเช่นไร
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับโพสต์นี้ได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครเป็นชาวเมืองเสน่ห์กาหลง

รายละเอียดเครดิต

ปิด

เว็บมาสเตอร์แนะนำย้อนกลับ /1 ถัดไป

รายชื่อผู้กระทำผิด|Archiver|Mobile|เมืองเสน่ห์กาหลง (Khalong Charming Town)

GMT+7, 3-5-2024 08:17 , Processed in 0.093899 second(s), 5 queries , File On.

Powered by Discuz! X3.4

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้