เมืองเสน่ห์กาหลง มหาเสน่ห์ มหาเมตตา มหานิยม
Khalong Amulet
ซ่อนแถบด้านข้าง

เรื่องของศีล

[คัดลอกลิงก์]
uunws โพสต์เมื่อ 5-12-2011 22:55 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
สิ่งที่จะใช้ในการตัดสินว่าผิดศีลหรือไม่ผิดศีลน๊า เค้าก็ต้องมีองค์แห่งศีลกำกับอยู่ด้วยทุกข้อนี่นา แบบนี้นะ

ศีลข้อ 1 ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีองค์แห่งศีลให้ใช้ในการพิจารณา 5 ประการ คือ
1.เป็นสิ่งมีชีวิต 2.รู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต 3.มีจิตคิดจะฆ่า 4.พยายามฆ่า 5.สิ่งมีชีวิตนั้นตายเพราะการพยายามของเรา
ถ้ามีครบทั้ง 5 ข้อนี้ ถึงจะเรียกว่าผิดศีลข้อ 1 จร้า ถือว่าศีลขาด แต่ถ้าไม่ครบ อาจจะ2,3,4ข้อบ้าง แต่ไม่ครบ 5 ข้อ จะเรียกว่า ศีลด่าง,ศีลพร้อย นะ

ศีลข้อ 2 ห้ามลักทรัพย์ มีองค์แห่งศีลให้ใช้ในการพิจารณา 5 ประการ คือ
1.ของนั้นมีเจ้าของ 2.รู้ว่าของนั้นมีเจ้าของ 3.มีจิตที่คิดจะโขมยมา 4.พยายามที่จะโขมย 5.ลักของนั้นมาได้โดยความพยายามที่จะโขมยนั้น
ถ้ามีครบทั้ง 5 ข้อนี้ ถึงจะเรียกว่าผิดศีลข้อ 2 จร้า ถือว่าศีลขาด แต่ถ้าไม่ครบ อาจจะ2,3,4ข้อบ้าง แต่ไม่ครบ 5 ข้อ จะเรียกว่า ศีลด่าง,ศีลพร้อย
***ช้าก่อน ในพระวินัยก็มีบอกอาการที่เรียกว่า "โขมย" ไว้ด้วยนะ ตามนี้เลยจร้า
ลัก,ชิง,ลักต้อน,แย่ง,ลักสับ,ตู่,ฉ้อ,ยักยอก,ตระบัด,ปล้น,หลอกลวง,กดขี่-กรรโชก,ลักซ่อน รวม 13 ข้อ เรียกว่า "อวหาร" แปลว่า อาการที่จัดว่าเป็นการลักทรัพย์จร้า

ศีลข้อ 3 ห้ามประพฤติผิดในกาม มีองค์แห่งศีลให้ใช้ในการพิจารณา 4 ประการ คือ
1.เป็นสิ่งที่ไม่ควรถึงไม่ควรที่จะเสพ 2.มีจิตที่คิดจะเสพสิ่งนั้น 3.เพียรพยายามเพื่อจะเสพ 4.ยังมรรคให้ถึงมรรค(องค์กำเนิดเข้าในช่องสังวาส)
ถ้ามีครบทั้ง 4 ข้อนี้ ถึงจะเรียกว่าผิดศีลข้อ 3 จร้า ถือว่าศีลขาด แต่ถ้าไม่ครบ อาจจะ2,3ข้อบ้าง แต่ไม่ครบ 4 ข้อ จะเรียกว่า ศีลด่าง,ศีลพร้อย

ศีลข้อ 4 ห้ามพูดเท็จ มีองค์แห่งศีลให้ใช้ในการพิจารณา 4 ประการ คือ
1.เป็นเรื่องไม่จริง 2.มีจิตที่คิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 3.พยายามพูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 4.ผู้อื่นฟังรู้เรื่องกับสิ่งที่เราพูดออกไป
ถ้ามีครบทั้ง 4 ข้อนี้ ถึงจะเรียกว่าผิดศีลข้อ 4 จร้า ถือว่าศีลขาด แต่ถ้าไม่ครบ อาจจะ2,3ข้อบ้าง แต่ไม่ครบ 4 ข้อ จะเรียกว่า ศีลด่าง,ศีลพร้อย
***ช้าก่อน ศีลข้อ 4 นี้จะรวมถึง การพูดคำหยาบ,พูดส่อเสียด,พูดเพ้อเจ้อ ด้วยนะ ตามที่มีมาใน"อกุศลกรรมบถ10" จร้า ที่เรียกว่า วจีกรรม 4 ไง(โกหก,คำหยาบ,ส่อเสียด,เพ้อเจ้อ)

ศีลข้อ 5 ห้ามดื่มสุราเมรัย มีองค์แห่งศีลให้ใช้ในการพิจารณา 4 ประการ คือ
1.น้ำนั้นเป็นน้ำเมา 2.มีจิตคิดจะดื่ม 3.พยายามที่จะดื่ม 4.น้ำเมานั้นล่วงลำคอเข้าไป
ถ้ามีครบทั้ง 4 ข้อนี้ ถึงจะเรียกว่าผิดศีลข้อ 5 จร้า ถือว่าศีลขาด แต่ถ้าไม่ครบ อาจจะ2,3ข้อบ้าง แต่ไม่ครบ 4 ข้อ จะเรียกว่า ศีลด่าง,ศีลพร้อย

ทั้งหมดนี้คือ หลักที่ใช้ในการตัดสินว่าผิดศีลแต่ละข้อหรือเปล่าจร้า ในประเด็นอื่นจะลงชี้แจงอีกทีนะ
ตัวเลขทั้ง 7 ในเบอร์มือถือ สามารถบ่งบอกนิสัยตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ อย่ารอให้ชีวิตคุณดีก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเลขมือถือให้ดี คุณต้องเปลี่ยนเลขดีก่อน ชีวิตคุณถึงจะดี!! ตัวเลขเสียๆ มักดึงดูดพลังงานเสียๆ เข้ามาทำให้เราผิดหวังในชีวิต ตรงกันข้าม ตัวเลขดีๆ มักดึงดูดพลังงานด้านดีๆ เข้ามาในชีวิต ผนวกกับบุญกรรมเก่าของแต่ละคนว่าจะไปสุดที่ตรงไหน เลขบางตัวเหมาะกับคนหนึ่ง แต่เป็นเลขเสียกับอีกคนหนึ่ง ศาสตร์พลังงานเลขมือถือ บางส่วนอิงจากโหราศาสตร์ไทย บางส่วนมาจากการเก็บสถิติ ศาสตร์เลขมือถือต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ในการวางตัวเลขมือถือให้เหมาะสม หลายคนเมื่อทราบผลการวิเคราะห์เบอร์มือถือของตนแล้วว่า ดี ร้าย อย่างไร แต่ยังพร้อมยอมทนใช้อยู่ ไม่รู้ทำไม เหตุผลง่ายนิดเดียว "เพราะทุกคนมีกรรมเป็นของตน" เมื่อถึงเวลา ฟ้าจะเปิดทางให้ท่านเปิดใจรับเรื่องมงคลดีๆ เข้ามาเสริมความรุ่งเรืองชีวิตท่านเอง จงจำไว้ ดวงคนเลือกเบอร์มาใช้เอง เบอร์ใครเบอร์มัน ไม่ซ้ำกัน หากท่านศรัทธาในศาสตร์พลังตัวเลขแล้ว ขออย่าลังเล หรือสงสัย อย่ารีรอทนใช้เบอร์เสียๆ เพื่อดึงดูดเรื่องร้ายๆ มารอเพื่อส่งผลแล้วค่อยเปลี่ยนเบอร์มือถือ วันนี้ คุณมีทางเลือกใช้ชีวิตแบบติดเทอร์โบได้ มัวช้าอยู่ทำไม? บริการวิเคราะห์เบอร์มือถือ วางเลขมงคล เรื่องการงาน การเงิน ความรัก โทร 09ุ ุ42282289 LINE ID: cholvibul
Naiin โพสต์เมื่อ 5-12-2011 22:59 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
กฎหมายใช้ เจตนา เป็นหลัก กฎกรรม ใช้ กรรม หรือการกระทำ เป็นหลัก
uunws โพสต์เมื่อ 5-12-2011 23:21 | แสดงโพสต์ทั้งหมด


แง่วๆๆๆๆ ขอนำประเด็นเรื่อง "ธุดงค์" มาขยายนะ

ต้องดูวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของคำว่า ธุดงค์ ด้วยนะ ว่าทำไปเพื่ออะไร แล้วจำเป็นต้องกินมื้อเดียวแล้วต้องอยู่ป่าเท่านั้นหรือเปล่า ถึงจะเรียกว่าธุดงค์ได้?

ตามความหมายที่แท้จริงนะ ธุดงค์ คือ วัตรจริยาพิเศษอันเป็นองค์คุณเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้เพื่อเป็นอุบายในการขัดเกลากิเลสนะ

ทั้งหมดมี 13 ข้อ แต่ถ้าพระท่านสมาทาน แม้เพียงข้อเดียวใน 13 ข้อ ก็เรียกว่า ธุดงค์ได้เหมืือนกัน 13ข้อมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

1.ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือไม่ยอมรับผ้าที่มีผู้ถวายมา นุ่งห่มแต่ผ้าบังสุกุล ข้อนี้เป็นอุบายเพื่อกำจัดโลภะ ความโลภ

2.ถือเฉพาะผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือถือนุ่งแต่เฉพาะแค่ ผ้า 3 ผื่นเท่านั้น คือ สบง1 จีวร1 สังฆาฏิ1 (พวกอังสะอย่างนี้ไม่จัดอยู่ในไตรจีวรนะ) เป็นอุบายกำจัดโลภะเช่นกัน ไม่ให้โลภในลาภสักการะ

3.เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึงการไม่รับอติเรกลาภอย่างอื่น จะฉันเฉพาะอาหารที่ได้มาจากการบิณฑบาตอย่างเดียว เป็นอุบายเพื่อไม่ให้ยึดติดกับลาภสักการะ

4.การเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร ไม่แตกแถวไปซ้ายขวาหรือฟากตรงข้าม

5.นั่งฉันครั้งเดียวเป็นวัตร คือ วันนึงจะฉันแค่มื้อเดียว

6.ฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือฉันในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่นใส่อาหารขบฉัน

7.การไม่รับภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อตั้งใจจะฉันแล้ว แม้มีคนเอาอาหารอื่นมาถวายอีกจะประณีตดีแค่ไหน ก็จะไม่รับอีก

8.ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือ อาศัียอยู่เฉพาะในป่าอย่างต่ำต้องไกลจากบ้านคนอย่างน้อย 25 เส้น เป็นวัตร (แต่เมื่อถึงกาลเข้าพรรษาต้องหาอาวาสอยู่เข้าจำ เพื่อไม่ให้ผิดพระวินัย)

9.การอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือ ไม่อยู่ในกุฏิหรือวิหาร แต่อาศัยอยู่ที่โคนไม้ แม้ฝนตกแดดออกก็ตาม

10.การอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คือ การไม่เข้าสู่ที่มุงบัง ไม่ว่าใต้ต้นไม้ หรือในถ้ำเป็นต้น

11.การอยู่ป่าช้าเป็นวัตร คือการอยู่เฉพาะในป่าช้าเท่านั้น

12.การถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร คือ จะอยู่อาศัยแค่เฉพาะเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เท่านั้น ไม่ไปอาศัยที่อื่น

13.ถือการนั่งเป็นวัตร หมายถึงอยู่ในอิริยาบถ 3 อย่าง คือ การยืน การเดิน การนั่ง ยกเว้นการนอน แม้แต่เอนกายก็จะไม่ทำ

***เห็นมะ แค่พระสมาทานถือแค่ข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะเรียกว่าเป็น "พระธุดงค์" แล้ว หรือจะถือมากกว่า1ข้อก็ได้ ไม่ผิดแต่อย่างใด
จึงสรุปได้ว่า พระธุดงค์ไม่ได้หมายถึงพระที่เดินมีสำภาระติดตัว หรืออยู่แค่เฉพาะในป่า อย่างที่เข้าใจกันแต่อย่างใดเลย พระในเมืองหรือพระที่ไหนๆ(ที่ปฏิบัติตามนิกายเถรวาท) ก็สามารถเป็น พระธุดงค์ ได้หมดแหละ

สรุปวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ "ธุดงค์" คือ ช่วยให้เกิดความมักน้อยสันโดษ ให้ยินดีในที่สงัด ช่วยทำให้อริยมรรคเพิ่มพูนขึ้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิุตติญาณทัสสนะให้สูงขึ้น จร้า


ทำความเข้าใจใหม่นะ...

uunws โพสต์เมื่อ 5-12-2011 23:45 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขล่าสุด uunws เมื่อ 5-12-2011 23:47
ต่อข้อ5. ผมว่าผมงงกับคำว่ากินสุราแล้วผิดศีลข้อนี้  ผ ...
ต้นฉบับโพสโดย camry เมื่อ 2-12-2011 16:35


พระวินัยก็มีบอกจร้า ใช้ความเห็นส่วนตัวตัดสินคงไม่ได้หรอกนะ บทบัญญัติในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็มีบอกอยู่ตรงตัวเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว จะเอาความเห็นส่วนตัวที่แย้งพระวินัยมาใช้ตัดสินอีก มันจะยังไงๆอยู่นา

เข้ามาที่ประเด็นต่อเลย ศีลข้อ 5 ห้ามดื่มสุราเมรัย เพราะอะไร? เพราะสุราเมรัยเมื่อกินหรือเสพเข้าไปแล้วทำให้ขาดสติ (สุรา คือเหล้า ,เมรัย คือ น้ำผลไม้ของหมักดองเช่น ไวน์ ในปัจจุบัน)  

แล้วบางคนอาจจะสงสัยต่อว่า ถ้าแบบนี้ ดื่มเบียร์ก็ไม่ผิดศีลสิ? คำตอบคือ............ผิดศีลเหมือนกัน....เพราะอะไรหน่ะหรือ...

ก็พระพุทธเจ้าก็ทรงให้ "มหาปเทส4" ไว้ใช้เป็นเครื่องพิจารณาแล้ว เราเคยนำเอามาพิจารณากันบ้างหรือเปล่า


มหาปเทส 4 คือ หลักใหญ่ 4 ข้อที่ใช้ในการพิจารณาว่าผิดหรือไม่ผิด สมควรหรือไม่สมควร มีดังนี้

1.สิ่งใดพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร

2.สิ่งใดพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร

3.สิ่งใดพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร

4.สิ่งใดพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร


เมื่อรู้หลักในการพิจารณาแล้ว ก็มาดูกันว่า เบียร์ในสมัยพุทธกาลไม่มีแน่นอน แต่เบียร์จะเข้าข้อที่ว่า "สิ่งใดพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร" นี่ไงงงงงงงงง เพราะเบียร์ทำให้ผู้ดื่มขาดสติ เหมือนกันกับสุราที่ดื่มเข้าไปแล้วทำให้ขาดสติ

***ยาเสพติดก็เข้ากับศีลข้อ 5 ด้วยนะ ถ้าใช้หลักมหาปเทส 4 พิจารณาดู เพราะยาเสพติดทำให้ผู้เสพขาดสติเช่นเดัยวกันกับดิ่มสุรา***




ส่วนที่ว่า ถ้ากินเป็นยาหล่ะ จะทำยังไง?

พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสบอกไว้จร้า พระองค์ทรงตรัสบอกไว้หมดแหละ (แต่เราไม่อ่านให้เข้าใจกันเอง - -")

จะดื่มเป็นยา หรือว่าจะดื่มเฉยๆก็ได้ แต่!!!!!! ต้องเจือจนไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ถึงจะไม่ผิดศีลสำหรับฆาราวาส และไม่อาบัติปาจิตตีย์สำหรับพระภิกษุจร้า



พระไตรปิฎกมีบอกไว้ทุกอย่างแหละ เอาพระไตรปิฎกมาใช้เป็นมาตรฐานดีกว่าเอาความคิดเห็นตัวเองมาใช้เป็นมาตรฐานชี้วัดจะดีกว่าน๊า...
uunws โพสต์เมื่อ 6-12-2011 00:33 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขล่าสุด uunws เมื่อ 6-12-2011 00:37

เท่าที่ดูแล้วนะ ท่าทางจะให้นิยามคลาดเคลื่อนไปมากมาย ความหมายของคำว่า "ปัญญา" ที่แท้จริงคือ "ความรอบรู้ในกองสังขาร"

ถามว่ารอบรู้อย่างไร ก็เอาธรรมข้อ"ปัจจยาการ"มาใช้พิจารณากันสิ พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องกรรม ทุกอย่างมีเหตุมีผล

ทำดีได้ดี มีสุขคติเป็นที่ไป, ทำชั่วได้ชั่ว มีทุคติเป็นที่ไป วิธีคิดในอริยสัจ 4 คือค วามจริงอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ก็มีบอกอยู่แล้ว

คือทุกอย่างมีเหตุมีผล อะไรทำให้เราเป็นในปัจจุบันนี้ ? คำตอบก็คือ เพราะมีเหตุ จึงมีผล ตรงกับในข้อธรรม "ปฏิจจสมุปบาท" เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

ความจริงในเรื่องนี้ก็มีในบทสวดมนต์เยอะนะ มีบอกครบ แต่เป็นภาษามคธ เป็นบาลี เราคนไทยฟังก็อาจจะไม่รู้ความหมายกัน ในหนังสือมนต์พิธีไปเปิดดูเถอะ มีบอกไว้มากมายเลย


มาต่อที่คำว่า"ปัญญา" ความรอบรู้ในกองสังขาร ลองนำข้อธรรม"ปัจจยาการ"มาวิเคราะห์ให้ดูละกันนะ

เพราะอวิชชา(ความไม่รู้ในอริยสัจ4)เป็นปัจจัย สังขาร(สภาพปรุงแต่ง)จึงมี

เพราะสังขาร(สภาพปรุงแต่ง)เป็นปัจจัย วิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์)จึงมี

เพราะวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์)เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ(อายตนะภายใน*ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ)จึงมี

เพราะสฬายตนะ(อายตนะภายใน*ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ)เป็นปัจจัย ผัสสะ(ความกระทบ)จึงมี

เพราะผัสสะ(ความกระทบ)เป็นปัจจัย เวทนา(ความเสวยอารมณ์)จึงมี

เพราะเวทนา(ความเสวยอารมณ์)เป็นปัจจัย ตัณหา(ความทะยานอยาก)จึงมี

เพราะตัณหา(ความทะยานอยาก)เป็นปัจจัย อุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)จึงมี

เพราะอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)เป็นปัจจัย ภพ(ภาวะแห่งชีวิต)จึงมี

เพราะภพ(ภาวะแห่งชีวิต)เป็นปัจจัย ชาติ(ความเกิด)จึงมี

เพราะชาติ(ความเกิด)เป็นปัจจัย ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(แห้งใจ จิตโศก) ทุกข์(สภาพที่ทนได้ยาก) โทมนัส(ความทุกข์ทางจิต) อุปายาส(ความคับแค้นใจ)จึงมี


จะเห็นวิธีคิดคือ คิดไล่เรียงสาวไปหาเหตุ สาวไปหาเหตุเรื่อยๆ เพราะเหตุเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มี "ผล" ตามมา จากข้อธรรม"ปัจจยาการ" ก็จะเห็นว่า ต้นเหตุทั้งหมดจะอยู่ที่ "อวิชชา" คือความไม่รู้ในอริยสัจ4 เมื่อเห็นเหตุแล้ว ก็ต้องประกอบเหตุในปัจจุบันเพื่อให้เข้าถึงสภาวะนั้นด้วย นี่แหละเป้าหมายของพระพุทธศาสนา

จุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาก็มีบอกไว้ชัดเจน ว่าเรานับถือพระพุทธศาสนาเพื่ออะไร อะไรคือเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาถ้าไม่ใช่"นิพพาน"

วิธีทางไป ในอริยมรรค 8 ที่อยู่ในอริยสัจ4 ก็มีบอกไว้แล้วเช่นกัน นี่แหละทางหลุดพ้น เพื่อวิมุติอย่างแท้จริง

พระนิพพาน คือ สภาวะที่หมดจดจากกิเลส คือละกิเลสได้สิ้นเชิง อะไรหล่ะที่เรียกได้ว่าเป็นกิเลส ที่เมื่อละแล้วจะทำให้เข้าพระนิพพานได้?


คำตอบอยู่ในข้อธรรม "สังโยชน์10" แล้ว หมายถึง กิเลสเครื่องผูกใจสัตว์ไว้ในภพอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี 10 ข้อ

1.สักกายะทิฏฐิ คือ ความยึดถือว่า นี่ตัวกู นี่ของกู

2.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในธรรม

3.สีลลัพพตปรามาส คือ การปรามาสศีล การเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเข้าใจว่า มีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ***ตรงนี้แหละสำคัญ สักครู่จะอธิบายขยายความต่อ***

4.กามราคะ คือ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม

5.ปฏิฆะ คือ ความขุ่นเคืองหมองใจ

6.รูปราคะ คือ ความติดใจในรูป

7.อรูปราคะ คือ ความติดใจในอรูป

8.มานะ คือ การสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่

9.อุทธัจจะ คือ ความคิดพล่าน

10.อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4

ถ้าละ3ข้อแรกได้เด็ดขาด ก็จะสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นที่เรียกว่า "พระโสดาบัน" หมายถึง ผู้แรกเข้ากระแสพระนิพพาน จะกลับมาเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ คือไม่มีชาติที่ 8 แน่นอน แล้วจะเข้านิพพาน

ถ้าละ3ข้อแรกได้เด็ดขาด และสามารถทำข้อ 4และข้อ5 ให้เบาบางลงได้ ก็จะสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้น "พระสกิทาคามี"

ถ้าสามารถละ 5 ข้อแรกได้อย่างเด็ดขาด ก็จะสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้น "พระอนาคามี"

ถ้าสามารถละได้หมดจดเด็ดขาดทั้ง 10 ข้อ ก็จะเข้าถึงเป้าหมายของพระพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง คือสำเร็จเป็นพระอรยบุคคลขั้น "พระอรหันต์" ผู้ละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง หมดกิจในทางพระศาสนาแล้ว เข้าพระนิพพานในที่สุด...


*****สรุป...ปัญญาคือความรอบรู้ในกองสังขาร คือเห็นตามสภาพความเป็นจริงในธรรมะ ที่หมายถึงธรรมชาตินั่นแหละ และทั้งหมดนี้ก็คือความจริงของธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้   แล้วนำมาถ่ายทอดผ่านพระสาวก เพื่อให้พระสาวกได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อกระทำกิจในพระพุทธศาสนาให้กระจ่างแจ้ง เมื่อพระสาวกปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ถ่ายทอดธรรมนั้นมาให้เรา ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจกัน.....*****


*****จะมาบอกว่านี่เป็นการ"ยึดตำรา"ก็ไม่ได้อีกแหละน๊า...เพราะตำรานี่ที่พูดว่าอยู่นี่แหละคือ "พระธรรม" เป็น 1 ในที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของพุทธบริษัททั้งหลาย ในพระรัตนตรัย(พระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์) พระธรรมแบ่งออกคร่าวๆเป็น พระปริยัติสัทธรรม,พระปฏิบัติสัทธรรม,พระปฏิเวธสัทธรรม

ก็ต้องทำไปตามขั้นตอนนะ ก้าวบันไดไปทีละขั้น เริ่มจาก ปริยัติ คือการศึกษาพระธรรมที่พระเถระร้อยกรองไว้ในพระไตรปิฎก เมื่อศึกษาแล้ว ก็นำเอาสิ่งที่ศึกษาไปใช้ในการปฏิบัติ ในภาค"ปฏิบัติสัทธรรม" เมื่อปฏิบัติตามภาคปริยัติที่ได้ศึกษามาแล้ว ย่อมจะให้ผลก็คือ "ปฏิเวธสัทธรรม" ในที่สุดนั่นเอง******

***ไปตามขั้นตอนหน่ะดีแล้ว แต่ถ้าเผลอก้ามข้ามขั้นตอนไป ระวังจะเหยียบพลาดตกลงมาเจ็บอีก***


ทำความเข้าใจใหม่นะ ขึ้นชื่อว่าธรรมหน่ะไม่ขัดธรรมหรอก.....
uunws โพสต์เมื่อ 6-12-2011 02:04 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขล่าสุด uunws เมื่อ 6-12-2011 02:12

มาขยายความต่อเรื่องที่ค้างไว้น๊า แล้วจะรู้คำตอบว่า เราจะรักษาศีลไปเพื่ออะไรกัน? ถ้าไม่รักษาแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

"สีลลัพพตปรามาส" หมายถึง การนำศีลไปใช้ในทางที่ผิดจากวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการรักษาศีลนั่นเอง เรียกว่าเป็นการ "ปรามาสศีล"

พูดแบบนี้อาจจะยังมองภาพไม่ออก ลองยกตัวอย่างให้ดูสักเล็กน้อยละกันจะได้เข้าใจได้มากขึ้น

เช่น รักษาศีลไปเพื่อให้เกิดความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ หรือ รักษาศีลไปเพื่อนำไปข่มผู้อื่นว่า เรามีศีลดีกว่าบริสุทธิ์กว่า เป็นต้น

แบบนี้ผิดวัตถุประสงค์ของการรักษาศีลอย่างชัดเจน  

เพราะวัตถุประสงค์ของการรักษาศีล ก็เพื่อ "ทำกิเลสให้เบาบางลง" ย้ำ!!! "รักษาศีลเพื่อขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง"

จากที่ยกตัวอย่างไปที่ว่า รักษาศีลเพื่อความขลังความศักดิ์สิทธิ์ หรือเพื่อนำไปข่มผู้อื่น แบบนี้นอกจากจะไม่ทำให้กิเลสเบาบางลงได้แล้ว กลับเป็นการเพิ่มพูนกิเลสเข้ามาในตัวอีกด้วย

ทีนี้พิจารณาได้แล้วใช่มะว่า รักษาศีลไปเพื่ออะไร?




แล้วเรามาดูกันต่อ ถ้าไม่รักษาศีลแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

ศีล แปลว่า ปกติ คนมีศีล ก็คือคนปกติ พระมีศีลครบก็ถือว่าเป็นพระที่ปกติ

เราจะเอาอะไรมาเป็นตัวตัดสินหล่ะว่า แบบนี้คือความปกติหรือเปล่า? ฉะนั้นเราก็มาพิจารณาให้เห็นภาพชัดๆนะ โดยเทียบคนกับสัตว์เดียรัจฉาน จะได้เห็นภาพชัดขึ้น เพราะว่า คนมีความคิดแยกแยะสิ่งต่างๆว่าดีว่าชั่วได้ แต่สัตว์เดียรัจฉานมันไม่มี มันจะใช้แต่สัญชาติญาณ โดยไม่สนใจว่า เมื่อทำลงไปแล้วจะเกิดผลอะไรตามมา เพราะว่ามันไม่รู้เรื่องกรรม เรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องกฎแห่งการกระทำ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วมันไม่รู้


ยกตัวอย่างให้ดูสัก 2 3 ข้อ ละกันนะ

ศีลข้อ1 ห้ามฆ่าสัตว์
ทุกชีวิตก็ย่อมรักชีวิตของตน ไม่อยากให้ใครมาเบียดเบียน มาทำลายล้างผลาญกันอยู่แล้ว ศีลข้อ 1 จึงเป็นการประกันทางด้านความปลอดภัยในชีวิต ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน คนหน่ะคิดได้ ด้วยเพราะเหตุความเข้าใจในหลักธรรมและสภาพแวดล้อมทางสังคมกฎหมายมาบังคับ แต่สัตว์มันใช้แต่สัญชาติญาณ อาจจะล่าเพื่อเป็นอาหารบ้างอะไรบ้างก็ตามแต่ ถ้าขืนคนไปพรากชีวิตจากสิ่งอื่นโดยไม่มีสำนึกในเรื่องกฎแห่งกรรม ก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์เดียรัจฉาน

ศีลข้อ 2 ห้ามลักทรัพย์
เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตแล้ว ก็ย่อมมีความต้องการความปลอดภัยในทรัพย์สินตามมา ของของใครของใครก็หวงก็ห่วงเป็นธรรมดา ย่อมไม่อยากให้ใครมาพรากสิ่งของอันเป็นที่รักของเราไป ศีลข้อ 2 จึงเป็นเสมือนกติกาทางสังคมในการอยู่ร่วมกันเพื่อให้เกิดสันติสุข อยู่กันได้อย่างไม่หวาดระแวง มนุษย์คิดได้ แต่สัตว์เดียรัจฉานมันคิดไม่ได้ ลองสังเกตง่ายๆ เคยเห็นสุนัขตัวใหญ่ แย่งอาหารของสุนัขตัวเล็กมั๊ย (จะได้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น) ถ้าคนผิดศีลข้อ 2 มันก็ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เดียรัจฉาน

ศีลข้อ 3 ห้ามประพฤติผิดในกาม
คู่ครอง เรื่องนี้คนสามารถแยะแยะได้ สิ่งไหนควรทำสิ่งไหนไม่ควรทำ ในเมื่อมีคู่ครองอยู่แล้ว แต่จะไปมีคนอื่นอีกแบบนี้คนหน่ะคิดได้ว่ามันไม่ดี มันไม่ควร สามารถระงับอดกลั้นไว้ได้ นี่ไง!! แต่ต่างจากสัตว์เดียรัจฉาน เมื่อถึงฤดูกาล มันก็จะทำไปตามสัญชาติญาณของมัน มันไม่รู้จักแยกแยะหรอกว่า อันนี้คู่ครองมันนะ อันนี้ไม่ใช่ ศีลข้อนี้จึงเปรียบเสมือนกติกาทางสังคม ที่เป็นเครื่องการันตีความสุขของครอบครัวนั่นแหละน๊า

เริ่มมองเห็นภาพกันชัดแล้วใช่มะ....แบบนี้แหละถึงเรียกว่า "ศีล" หมายถึง "ปกติ" คนมีศีลก็คือคนปกติ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศีลเป็นมาตรฐานเป็นเครื่องชี้วัดความมีคุณค่าในตัวตนของมนุษย์ และศีล 5 ก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ว่า เป็นคุณธรรมพื้นฐานอันปกติของความเป็นมนุษย์ หากมนุษย์ไม่มีศีล ก็ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เลย




ภาพที่มองเห็นได้ทั่วไป มันก็จะเกิดความไม่สงบสุขทั้งต่อตนเองและผู้อื่น แต่ภาพที่มองไม่เห็นหลังจากที่เราละโลกไปแล้วหล่ะ ในทางพระพุทธศาสนามีบอกไว้มั๊ย?

คำตอบคือ มีจร้า........

ถามว่าแล้วจะมีได้อย่างไรกันหล่ะ ตรงนี้ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวไว้แล้วเหมือนกัน ทั้งจากที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง และพระสาวกพูดถึงก็มีตัวอย่างหใ้เห็นอยุ่เยอะแยะไปหมด



ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องกรรม เรื่องการกระทำ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เมื่อพูดถึงตรงนี้ ก็จะมีคำถามต่อว่าแล้ว นรก-สวรรค์ มีจริงมั๊ย?

ความเชื่อที่เรียกว่า "ศรัทธา" ในพระพุทธศาสนา มีอยู่แค่ 4 ข้อ ถ้านอกเหนือจากนี้ ไม่ใช่ความเชื่อในพระพุทธศาสนาแน่นอน ความเชื่อนี้มีอะไรบ้างมาดูกัน

1.เชื่อว่ากรรมมีจริง

2.เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง

3.เชื่อว่าสัตว์ทุกตัวย่อมมีกรรมเป็นของตน

4.เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

4 ข้อนี้แหละ ที่เรียกว่า"สัทธา","ศรัทธา"ที่แปลว่า ความเชื่อ ในทางพระพุทธศาสนา ความเชื่อนอกจาก 4 ข้อข้างต้นนี้ ไม่ใช่ความเชื่อตามพระพุทธศาสนาจร้า



ถ้าเราเชื่อว่ากรรมมีจริง เชื่อเรื่องของกรรม เรื่องของการกระทำ เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็ต้องเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนบอกไว้

ในเรื่อง สวรรค์ - นรก พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกไว้ เหมือนกันนะ เอาคร่าวๆให้พอมองเห็นภาพละกัน(อ่านฉบับเต็มได้ในพระไตรปิฎก 45 เล่มนะ)

นรกทั้งหมดแล้ว มี 8 ขุมใหญ่เรียกว่า"มหานรก" แต่ละขุมใหญ่จะมีขุมบริวารเรียกว่า"อุสสทนรก" และจะมีขุมย่อยอีกเรียกว่า "ยมโลก" รวมทั้งหมดทั้งสิ้น 456 ขุม

ทีนี้เรามาดูขุมใหญ่ที่เรียกว่า "มหานรก" กัน

คนที่ทำผิดศีลข้อ 1 เป็นนิจ เมื่อตายไป ก็ต้องไปรับโทษทัณฑ์ อันเป็นผลจากกรรม หรือการกระทำเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ในนรกขุมที่ 1 มีชื่อว่า"สัญชีวนรก" ซึ่งเป็นนรกขุมที่รองรับผู้ที่ชอบการฆ่าโดยเฉพาะ

คนที่ทำผิดศีลข้อ 2 เป็นนิจ เมื่อตายไป ก็ต้องไปรับโทษทัณฑ์ อันเป็นผลจากกรรม หรือการกระทำเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ในนรกขุมที่ 2 มีชื่อว่า "กาฬสุตตนรก" ซึ่งเป็นนรกขุมที่รองรับผู้ที่ทำกรรมอทินนาทาน ลักโขมยโดยเฉพาะ

คนที่ทำผิดศีลข้อ 3 เป็นนิจ เมื่อตายไป ก็ต้องไปรับโทษทัณฑ์ อันเป็นผลจากกรรม หรือการกระทำเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ในนรกขุมที่ 3 มีชื่อว่า "สังฆาฏนรก" ซึ่งเป็นนรกขุมที่รองรับผู้ที่กระทำกรรมกาเม โดยเฉพาะ

คนที่ทำผิดศีลข้อ 4 เป็นนิจ เมื่อตายไป ก็ต้องไปรับโทษทัณฑ์ อันเป็นผลจากกรรม หรือการกระทำเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ในนรกขุมที่ 4 มีชื่อว่า "โรรุวนรก" ซึ่งเป็นนรกขุมที่รองรับผู้ที่กระทำกรรมมุสา โดยเฉพาะ

คนที่ทำผิดศีลข้อ 5 เป็นนิจ เมื่อตายไป ก็ต้องไปรับโทษทัณฑ์ อันเป็นผลจากกรรม หรือการกระทำเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ในนรกขุมที่ 5 มีชื่อว่า "มหาโรรุวนรก" ซึ่งเป็นนรกขุมที่รองรับผู้ที่กระทำกรรมดื่มสุรา ของมึนเมา ยาเสพติด ฯ ที่ทำให้ขาดสติโดยเฉพาะ

ส่วนขุมที่ 6 จะรองรับผู้ที่ทำกรรมเกี่ยวกับการมัวเมาในอบายมุขเป็นนิจ ,ขุม 7 จะรองรับผู้ทำกรรมที่ผิดศีลทั้ง5ข้อและรวมถึงการเล่นการพนันเป็นนิจ ,ส่วนขุมที่ 8 ขุมใหญ่ที่สุด จะรองรับผู้ที่ทำอนันตริยกรรม ซึ่งถือว่าเป็นกรรมหนักที่สุดทางพระพุทธศาสนาได้แก่ ฆ่าพ่อ,ฆ่าแม่,ฆ่าพระอรหันต์,ทำให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต,ยังสงฆ์ให้แตกกัน ไม่ว่าจะสั่งสมความดีทำบุญบารมีมามากมายขนาดไหนก็ตาม หากเผลอไปกระทำอนันตริยกรรมแม้เพียงครั้งเดียว กระแสบาปหนักอันนี้ ก็จะดึงดูดให้ไปเกิดในมหานรกขุมที่ 8 ทันที เมื่อใช้กรรมหมดแล้ว จึงจะไปเสวยผลบุญตามที่ได้กระทำไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ต่อไป...


ก็คงจะคลายข้อสงสัยลงไปได้เยอะเลยน๊า ว่าศีล 5 เป็นความปกติของมนุษย์ เมื่อไม่มีศีล ก็เท่ากับว่าเป็นคนไม่ปกติ เมื่อละอัตภาพตายไป ก็จะมาเกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ เพราะคุณธรรมพื้นฐานที่ทำให้เป็นมนุษย์ไม่มี ก็ต้องลงไปสู่ฝ่ายทุคติ คือ นรก,เปรต,อสุรกาย,สัตว์เดียรัจฉาน...........




แต่ถ้าหากว่าอ่านแล้ว ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่า นรก-สวรรค์มีจริง ก็เลยขอให้อ่านนิทานที่จะนำมาเล่าต่อก่อนนะ แล้วค่อยตัดสินใจอีกทีก็ยังไม่สาย


"ปลา และ เต่า เป็นเพื่อนซี้ปึ้กกันมานาน อาศัยอยู่ในหนองน้ำด้วยกันทุกวันทุกคืนตั้งแต่เด็กจนโต ไม่เคยห่างกันเลย

อยู่มาวันนึง เจ้าเต่าเกิดสงสัยอยากจะลองขึ้นไปบนบกดูบ้าง ว่ามันจะเป็นยังไง จึงคลานต้วมเตี้ยมๆๆๆขึ้นไป และแล้วววว..!!!!

มันก็ได้พบเห็นกับสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่มันไม่เคยพบมาก่อนในชีวิต ...โอ้วววววว...อะไรกันนี่ ..........!!!!!

เจ้าเต่าไม่รอช้า จึงรีบคลานต้วมเตี้ยมลงไปในหนองน้ำเพื่อไปหาเพื่อปลาสุดที่รักของมัน พร้อมกับเล่าสิ่งที่มันเพิ่งเคยเห็นบนบกครั้งแรกในชีวิต

เมื่อเจอเจ้าปลา เจ้าเต่าก็เล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตัวเองได้ไปเจอกับดอกไม้ ต้นหญ้า ต้นไม้ ภูเขา อากาศที่เจือด้วยแสงแดด โอ้ววมหัศจรรย์เหลือเกิน!!!

พอเจ้าปลาฟังจบ ก็เถียงขึ้นมาทันควัน เจ้าอย่ามาหลอกข้าห่อยเลยเจ้าสหายเต่าเพื่อนรัก ตั้งแต่ข้าเกิดมายังไม่เคยเห็นอะไรอย่างที่เจ้าว่าเลย

แม้แต่พ่อแม่บรรพบุรุษข้าก็ไม่เคยเห็นสิ่งที่เจ้าเห็นเลย เจ้าอย่ามาหลอกข้าเสียให้ยาก...

แม้เจ้าเต่าจะอธิบายอย่างไร มันก็ไม่เป็นผล ...................จบบบบบบบบ"


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า.......อย่าเพิ่งปฏิเสธว่า ผี , เปรต, อสุรกาย ,คนธรรพ์ , เทวดา , นางฟ้า ,นรก ,สวรรค์ ฯ ไม่มีจริง!!!!!!

เราในตอนนี้กำลังเป็นเหมือนปลาในนิทานอยู่หรือเปล่าหนอ?

เมื่อใดก็ตามที่เรามีความเพียร มีมานะอุตสาหะ ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวะที่สามารถไปเห็นได้ด้วยตนเองแล้วหล่ะก็

เมื่อนั้นค่อยมายืนยันด้วยตนเองว่า สิ่งเหล่านั้นมีจริงหรือเปล่า?.............***********************


จะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไรหล่ะ ?

ไปตามขั้นตอนไปตามเสตปนะ พระพุทธศาสนามีบอกไว้หมดแล้ว เริ่มต้นที่ "ศีล" นี่แหละ (ศีล,สมาธิ,ปัญญา)

เพราะ"ศีล" เป็นทางนำไปสู่ "สมาธิ" เมื่อมีสมาธิก็จะเกิด "ปัญญา" ตามมา!!!!!

เห็นความสำคัญของ"ศีล"แล้วหรือยังหล่ะ

มารักษา"ศีล"กันเถอะ



********แต่ถ้าใครเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแล้วคำถามพวกนี้ก็จะหมดไปเองโดยปริยยาย เพราะพระองค์ท่านทรงพิสูจน์ให้เห็นจริง และสอนให้เรารู้จริงตามที่ท่านเห็นแล้ว******************




ทิ้งท้ายด้วยข้อคิดสักนิดโปรดพิจารณาเพื่อปรับความเข้าใจใหม่นะ

ข้อเท็จจริง กับ ทฤษฎี มันต่างกันนะอย่าลืม

เพราะอะไร? ก็เพราะว่า ทฤษฎี คือ ข้อสรุปทั่วไป ที่ใช้ได้แค่เพียงระยะหนึ่ง เพราะหากว่ามีทฤษฎีที่มีเหตุผลมากกว่าสามารถนำมาอธิบายได้ดีกว่าเข้ามาลบล้าง เข้ามาแทนที่ทฤษฎีเดิม ทฤษฎีเดิมก็จะหมดความหมายไป ฉะนั้น ทฤษฎีจึงเกิดมีขึ้นแทนที่ทฤษฎีเดิมอยู่ตลอด

แต่!!!!!ข้อเท็จจริง มันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แล้ว คือ ไม่มีใครสามารถมาโต้แย้งให้เปลี่ยนไปจากเดิมได้ ตรงนี้แหละ ทฤษฎี กับ ข้อเท็จจริง มันต่างกันตรงนี้!!!

ฉันใดก็ฉันนั้นน๊า

***************ความเห็นส่วนตัวก็เปรียบเสมือนทฤษฎี มันสามารถเปลี่ยนไปได้ หากมีเหตุผลมาสนับสนุนมาใช้อธิบายได้ดีกว่า

แต่หลักความจริงในทางพระพุทธศาสนา ที่มีกล่าวไว้ในส่วนพระไตรปิฎกคือภาคปริยัติก็ดี ภาคปฏิบัติก็ดี นั้น เปรียบเสมือนเป็น "ข้อเท็จจริง" ที่มิอาจเอาความเห็นส่วนตัวมาใช้เทียบเพื่อลบล้างได้หรอก*******************


จะเอา"ทฤษฎี"มาใช้วิพากษ์"ข้อเท็จจริง" ไม่ได้จร้า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน




สีเลนะ สุคะติง ยันติ แปลว่า ผู้สมาทานไปสู่สุคติได้เพราะศีล

สีเลนะ โภคะสัมปะทา แปลว่า ได้รับความถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ เพราะศีล

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ แปลว่า ไปพระนิพพานได้ เพราะศีล

ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย แปลว่า เพราะฉะนั้น ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เทอญ ฯ




ลองพิจารณาดูนะ ฝานหวานน๊าพี่น้องชาวเมืองกาหลง
pungkung โพสต์เมื่อ 6-12-2011 08:54 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
กฎหมายใช้ เจตนา เป็นหลัก กฎกรรม ใช้ กรรม หรือการกระทำ ...
ต้นฉบับโพสโดย Naiin เมื่อ 5-12-2011 22:59


แม่นแล่วท่าน 555+
camry โพสต์เมื่อ 6-12-2011 16:54 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
camry โพสต์เมื่อ 6-12-2011 23:07 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ถ้าท่านกล่าวดังนั้นก็แสดงว่าท่านไม่กินส่งมีชีวิตเลยถูกต้อง
การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้นเป็นบาปจริง พืชมีชีวิตก็ตัดชีวิตเข้าเช่นกัน
ที่บอกว่ากินได้ทุกอย่างนั้นต้องดูว่าเหตุของการกินนั้นเพื่ออะไร
เหตุของการฆ่าเพื่ออะไร สัตว์เล็กสัตว์มีจิตเหมื่อนกัน(คนเราคิดเอาเองว่าสัตว์เดียรัจฉานไม่มีปัญญาไม่มีความรู้สึก ใช้สัญชาตญาณ)
สัตว์ทุกชนิดมีดีในตัวและเกิดมาเพื่ออะไรบางอย่าง
พระธรรมไม่ได้เขียนให้ทุกคนเข้าใจง่ายๆ ไม่อย่างนั้นก็หลุดพ้นหมดชิท่าน
camry โพสต์เมื่อ 6-12-2011 23:12 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อีกอย่างการแปลบาลีเพื่ออะธิบายน้ันดี มากท่าน แต่มันอาจทำให้คนหลงธรรม
มีพระหลายองค์หลายท่านยังติดอยู่ตรงนี้แล้วข้ามไม่ได้
ตรงนี้สำคัญมากๆ ถ้าถือศีลได้ พลังเกิด จิตผ่องใส เดินทางต่อไปได้
การมองแบบจับต้องได้ไม่ขัดกับกฏของธรรมชาติคือธรรม
uunws โพสต์เมื่อ 7-12-2011 00:42 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขล่าสุด uunws เมื่อ 7-12-2011 00:45
ถ้าท่านกล่าวดังนั้นก็แสดงว่าท่านไม่กินส่งมีชีวิตเล ...
ต้นฉบับโพสโดย camry เมื่อ 6-12-2011 23:07

แย่แล้วววววววว..........

อุตส่าห์นำข้อธรรม"ปัจจยาการ"มาประกอบการอธิบายแล้วนะ จากเรื่องศีล ก็กลายเป็นเรื่องการบริโภค ,การกิน จนได้ .....

ปัจจยาการก็มีบอกไว้แล้ว เพราะอิงกับหลัก"ปฏิจจสมุปบาท" เพราะสิ่งนี้มี...สิ่งนี้จึงมี...และสิ่งที่จะตกอยู่ในกฎแห่ง"ภวจักร"ก็คือ"สัตว์"

มนุษย์ก็เป็นสัตว์เหมือนกัน แต่เป็นสัตว์ประเสริฐ...เพราะลำตัวไม่ได้เอียงไปทางขวาง เหมือนพวกสัตว์เดียรัจฉาน ที่มีลำตัวเอียงไปทางขวาง และจิตใจก็จะขวางต่อพระนิพพานด้วย

สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง จะตกเข้าอยู่ใน "สังขาร".....ข้อธรรม"ปัจจยาการ"หนูเขียนอธิบายไว้หมดแล้วนะ ถ้าไม่เข้าใจแบบนี้ก็กลับไปอ่านอีกรอบบบ


กรุณาทำความเข้าใจนะ พระไตรปิฎกมีบอกวิธีแยกแยะไว้แล้วน๊า.........

ในศีลข้อที่ 1 ห้ามฆ่าสัตว์ฺ  คุณสงสัยใช่มั๊ยหล่ะว่า จะใช้อะไรมาใช้พิจารณาว่าอันนี้เป็นสัตว์หรือไม่ใช่สัตว์ อันนี้เป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ใช่สิ่งมีชีวิต...คำตอบในพระไตรปิฎกมีบอกไว้หมดแล้วจร้า...

ก็อย่างที่บอกแหละ "สังขาร" เมื่อทำความเข้าใจแล้วนะ ต่อไปมาพิจารณากันต่อว่ามันคืออะไร แล้วจะใช้แยกแยะกับคำว่า"สัตว์"กับคำว่า"สิ่งมีชีวิต"ได้อย่างไร?


"สังขาร" แปลว่า สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น หมายถึงสิ่งที่ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ ได้คุมกันเข้าจากจุดที่ย่อยที่สุดที่เรียกว่า "ธาตุ" เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม สิ่งทั้งหลายในโลกเกิดขึ้นจากการเกาะกุมของกลุ่มย่อยๆ ทำให้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตขึ้นในโลก มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นปกติ มี 2 อย่าง คือ

1.อุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารมีใจครอง ได้แก่สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประกอบด้วยธาตุ 6 ย้ำให้อ่านดีๆนะ!!!!(จะได้ไม่เถียงข้างๆคูๆอีกเหอๆ) ธาตุ 6 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ และวิญญาณ เกาะกุมกันเข้า เรียกว่า เป็นคน เป็นสัตว์ สังขารนี้แหละเรียกว่า สังขารมีใจครอง สามารถเคลื่อนไหว ไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ

2.อนุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารไม่มีใจครองกล่าวโดยสรุปได้แก่ ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมเข้ากันเป็นส่วนย่อยๆ เช่น ดิน ทราย ต้นไม้ พืช รถ เรือ เครื่องบินฯ นานาชนิดว่ากันไป สรุปรวมกันเป็นสังขารเหมือนกัน คือ สังขารที่ไม่มีใจครอง ไม่สามารถจะเคลื่อนไหวไปไหนๆ ได้เองตามลำพัง


******ทั้งหมดนี้อยู่ในธรรมวิภาคปริจเฉทที่ 2 หมวด"ทุกะ" นะ ไปเปิดดูเอาจะได้กระจ่างเสียที เห้อออออออ**********




แล้วที่คุณบอกมาว่า พืช เป็นสิ่งมีชีวิต ถ้าไปถอนพืชมากินก็เท่ากับเป็นการฆ่าสัตว์อย่างนั้นหรือ?????? ...แล้วพืชเนี่ยะ...มันจัดอยู่ในสังขารประเภทไหน????....อุปาทินนกสังขาร หรือ อนุปาทินนกสังขาร??????


ถามว่า พืช มันประกอบด้วยธาตุ 6 หรือ ธาตุ 4????.....พืชมี อากาศ มี วิญญาณ หรือเปล่า????? แล้วพืชเนี่ย มันสามารถเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนด้วยตนเองตามลำพังได้มั๊ยยยย????.............คำตอบคือ.......ไม่ได้...............(อ่านให้ดีๆนะ)


สรุปแล้ว ในเมื่อพืชมีแค่ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ,พืชไม่สามารถไปไหนต่อไหนได้เองตามลำพัง.....ก็แสดงว่า...พืชจัดเป็นสังขารประเภท..."อนุปาทินนกสังขาร"...คือ สังขารที่ไม่มีใจครองงง

แล้วสังขารที่ไม่มีใจครองเนี่ยะ มันถือว่าเป็นสัตว์ได้มั๊ย...มันเป็นสัตว์อย่างที่คุณบอกไม่ได้หรอก....แล้วการที่ไปขุดไปถอนเอาพืชผักมากินเนี่ยะ...มันไม่ผิดศีลข้อ 1 หรอกกกกพ่อคู้ณณณณณณณ!!!!!
uunws โพสต์เมื่อ 7-12-2011 01:07 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แล้วอีกอย่างนะ จะเอาเรื่องศีล ไปปะปนกับเรื่องการพิจารณาการกิน การบริโภค มันก็คนละส่วนกันนะ เพราะอะไรหน่ะหรอ.....

ก็เพราะแต่ละอย่างก็มีวัตถุประสงค์ที่เป็นของตัวเอง ...วัตถุประสงค์ของศีลก็บอกไปแล้วว่าเพื่อขจัดกิเลสให้เบาบางลง....ส่วนวัตถุประสงค์ของการพิจารณาการบริโภคหน่ะก็คือ การไม่หลงติดในรส เทียบในข้อธรรม"ปัจจยาการ" ก็จะตรงกับ"ตัณหา"..........


วัตถุประสงค์ของศีลบอกไปหมดแล้วว่ารักษาศีลแต่ละข้อไปเพื่ออะไร.....ทีนี้จะเอาวัตถุประสงค์ของการพิจารณาการบริโภคมาอธิบายกันต่อ


ที่เราบริโภค ที่เรากินอาหารเนี่ยะ ในพระไตรปิฎกก็มีเขียนไว้หมดแล้ว.....และอีกเช่นกัน...คุณไม่ได้อ่านให้เข้าใจอีกเช่นเคย เหอ ๆ เอาวัตถุประสงค์ของการบริโภค ไปใช้พิจารณาวัตถุประสงค์ของศีลข้อ 1 อะไรจะปานนนั้นนนนน!!!!!


ในบทพิจารณาปัจจัย 4 ในหมวดของอาหาร ถ้าเคยบวชพระ หรือไปวัดถวายภัตตาหารพระบ่อยๆ ก็คงได้ยินได้ฟังพระท่านสวดก่อนฉันภัตตาหารบ้างแหละ...."ปฏิสังขาโย"..ไง...คุ้นบ้างมั๊ยเนี่ยะ.......ถ้าไม่คุ้นไม่เป็นไรเดี๋ยวจะยกบทพิจารณามาให้ได้รับชมกัน




".......ปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง - เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว

ปฏิเสวามิ - ฉันบิณฑบาต

เนวะ ทวายะ นะ มะทายะ นะ - ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน

มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ - สนุกสนาน ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา - แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้

ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา - แห่งกายนี้ เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ

พรัมมะจะริยานุคคะหายะ - เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย เพื่อการอนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ - ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ - ซึ่งเวทนาเก่า คือความหิว และไม่ทำให้ทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น

ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา - อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้

จะ ผาสุวิหาโร จาติฯ - ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ ด้วยความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่เราดังนี้....."




เมื่อดูบทพิจารณาปัจจัย 4 ในหใวดอาหารการบริโภคแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่า อาหารที่เรากินไปเนี่ยะ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้ว"เรากินไปเพื่ออะไร"


ถ้าไม่ใช่...กินเพื่อทำให้ร่างกายเกิดพละกำลัง เพื่อยังอัตภาพ หรือ ชีวิตนี้ ให้เป็นต่อไปได้ เพื่อบำบัดเวทนาเก่า คือ ความหิว ความกระหาย เมื่อร่างกายเกิดกำลังแล้ว ก็จะสามารถยังชีวิตนี้ให้เป็นต่อไปได้

เมื่อเห็นจริงตามนี้แล้ว เราก็จะไม่หลงเพลิดเพลินในการกิน จะไม่กินเพื่อสนองตัณหาความอยาก เมื่อบำบัดเวทนาเก่า คือ ความหิว ได้แล้ว เราก็จะไม่ทำเวทนาใหม่ คือ ความจุก เสียด แน่น ให้เกิดขึ้น



นี่แหละวัตถุประสงค์ของการกิน การบริโภค แยกแยะสักนิดละกันนะว่า วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของแต่ละเรื่องเนี่ยะ มันแตกต่างกัน




ที่คุณตอบมาทั้งหมดหน่ะ มันไม่ผิดศีลหรอก "แต่มันผิดธรรม" พิจารณาสักหน่อยก็ดีนะ พระไตรปิฎกมีกล่าวไว้หมดแล้ว ศึกษาให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อจุดประสงค์ที่แท้จริงของศาสนาจะดีกว่านะ.........
uunws โพสต์เมื่อ 7-12-2011 01:42 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อีกอย่างนะ หนูไม่ได้บอกเลยแม้แต่น้อยว่า ห้ามกินเนื้อจากสัตว์ ถ้ากินเนื้อจากสัตว์จะผิดศีล!!!!


ศีลธรรม ต้องแยกพิจารณา เพราะมาจากคำว่า "ศีล+ธรรม"

เวลาเราจะทำออะไร ก็จะต้องไม่ขัดกับศีล และไม่ขัดกับธรรมด้วย


มาดูศีลข้อที่ 1 ที่เป็นประเด็นนะ ศีลข้อ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์ หนูก็ลงไปแล้วว่าวิธีพิจารณาว่าผิดศีลข้อ 1 หรือเปล่ามีอะไรบ้าง องค์แห่งศีลข้อ 1 มี 5 ประการคือ

1.เป็นสิ่งมีชีวิต

2.รู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต

3.มีจิตคิดจะฆ่า

4.พยายามฆ่า

5.สิ่งมีชีวิตนั้นตายเพราะความพยายามของเรา



ถ้ามีองค์ประกอบครบทั้ง 5 ข้อ ถึงจะเรียกว่าศีลขาด ผิดศีล



หลายคนสงสัยกันต่อใช่มะว่า แล้วถ้าเรากินเนื้อสัตว์แบบนี้เราจะผิดศีลข้อ 1 หรือเปล่า?


ไม่เห็นยากเลยหนูก็บอกวิธีวิเคราะห์พิจารณาไปแล้วนี่.....มามะ เรามาลองพิจารณากันเลยดีกว่า


องค์แห่งการผิดศีลข้อ 1 ห้ามฆ่าสัตว์  

1.เป็นสิ่งมีชีวิต - เนื้อสัตว์มีชีวิตหรือเปล่า? เนื้อสัตว์ไม่มีชีวิตใช่มะ โอเคข้อนี้ผ่าน นี่แค่ข้อเดียวก็สามารถสรุปได้แล้วว่า การกินเนื้อสัตว์ ไม่ผิดศีลข้อ 1!!!!! เพราะอะไร ก็เพราะไม่ครบองค์แห่งการผิดศีลทั้ง 5 นี่นา ต้องทำครบองค์แห่งศีลทั้ง 5 ข้อ ถึงจะเรียกว่าผิดศีลได้ ข้อนี้ข้อเดียวก็ไม่เข้าองค์ประกอบแล้ว!!!!!

2.รู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต - เนื้อสัตว์มันไม่มีชีวิตแล้วนะ

3.มีจิตคิดจะฆ่า - ในเมื่อมันไม่มีชีวิตแล้วเราจะฆ่ามันได้อย่างไรหล่ะ

4.พยายามฆ่า - ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย

5.สิ่งมีชีวิตนั้นตายเพราะความพยายามของเรา - เนื้อสัตว์เนี่ยะมันไม่มีชีวิตแล้ว แล้วมันจะตายอีกรอบได้ยังไง



*********สรุปว่า - กินเนื้อสัตว์ ไม่ผิดศีลข้อ 1 แน่นอนนนนนนน!!!!********




หลายคนอาจจะสงสัยต่อไปอีกว่า....เราไม่ได้ฆ่าเองก็จริง...แต่ก็มีคนฆ่าเพื่อเอามาขายให้เราซื้อไปกิน อย่างนี้ไม่บาปหรอ????


เป็นคำถามที่ดีนะ.......แต่คำถามนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงตอบปัญหาไว้แล้วเหมือนกัน....ในพระไตรปิฎกมีเขียนไว้แล้ว ลองไปอ่านพิสูจน์ดูว่าหนูพูดจริงหรือเปล่า?


พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงเนื้อบริสุทธิ์ไว้แล้ว.....หมายถึงว่า....เนื้อที่มีองค์ประกอบอย่างนี้ กินได้ ไม่บาป มี 3 ประเภทด้วยกัน (ธรรมข้อนี้ไม่รวมกับเนื้อที่ภิกษุห้ามฉันอีก 10 อย่างนะโปรดทำความเข้าใจก่อน)

1.เนื้อที่ไม่ได้เห็น คือ เนื้อที่เราไม่ได้เห็นว่าเขาฆ่าเอามาเพื่อเรา เช่น ถ้าไปเห็นว่าเขากำลังฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาให้เรา แล้วเรากินเนื้อนั้นเข้าไป แบบนี้เป็นบาป

2.เนื้อที่ไม่ได้ยิน คือ เนื้อที่เราไม่ได้ยินว่าเขาจะฆ่าเอามาเพื่อเรา เช่น ถ้าไปได้ยินว่าเขาจะฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาให้เรา แล้วเรากินเนื้อนั้นเข้าไป แบบนี้เป็นบาป

3.เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ คือ เนื้อที่เข้าองค์ประกอบ 2 อย่างข้างต้น(รวมเอาถึงเนื้อที่เราเคยให้สัจจะไว้ว่าจะไม่กินอีกด้วย)


สำหรับฆาราวาสก็จะมีองค์ประกอบดังนี้คือ

๑. ไม่ฆ่าเอง

๒. ไม่สั่งให้ใครฆ่า

๓. ไม่รู้ไม่เห็นในการฆ่านั้นๆ

๔. ไม่รู้ด้วยว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงเอาไว้เพื่อให้เรา


นี่แหละ คือ ส่วนที่เรียกว่า "ธรรม" ไม่ผิด"ศีล"แล้ว ก็ต้องไม่ผิด"ธรรม" ด้วย อย่าลืมประเด็นนี้ซะหล่ะ!!!!!!





เคยฟังเวลาที่พระให้ศีลเสร็จแล้วกันหรือเปล่าหล่ะ? .......ที่ว่า........"สีเลนะ สุคะติง ยันติ" แปลว่า "ผู้สมาทานไปสู่สุคติได้เพราะศีล"!!!!!!!

หมายความว่ายังไง?.....ก็หมายความว่า "ศีลเป็นปัจจัยให้ไปสู่สุคติภูมิ คือ สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น,พรหม 16 ชั้น,อรูปพรหม 4 ชั้น ได้หน่ะสิ!!!!"

กินเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์ไม่ได้ผิดศีลนี่นา.......แล้วคุณมาหาว่าหนูกินพืชผักไม่กินเนื้อสัตว์อีก..เห้ออออออออออ


***************ถ้าคุณคิดว่ากินพืชผักอย่างเดียวโดยไม่กินเนื้อสัตว์แล้วถือว่าไม่ผิดศีลนะ.........ป่านนี้พวกสัตว์กินพืชทั้งหลาย วัว กระบือ ยีราฟฯ คงเต็มสวรรค์หมดแล้วหล่ะ เหอ ๆๆๆๆ***********
uunws โพสต์เมื่อ 7-12-2011 02:35 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อีกอย่างการแปลบาลีเพื่ออะธิบายน้ันดี มากท่าน แต่มัน ...
ต้นฉบับโพสโดย camry เมื่อ 6-12-2011 23:12


ว่าไปนั่น เหอๆ

เดี๋ยวหนูจะเกริ่นนำก่อน แล้วจะชี้ให้เห็นเอง ว่าใครกันแน่ที่"หลงธรรม"!!!!



ส่วนมากจะเรียกกันจนชินว่า "ภาษาบาลี" แต่ความจริงแล้ว "บาลี" ไม่ใช่ภาษาอย่างที่หลายๆคนเข้าใจนะ ขอบอกกก

อ้าวแล้วในเมื่อบาลีไม่ใช่ภาษาแล้วในหนังสือสวดมนต์นั่นคือภาษาอะไรกันหล่ะ?.......คำตอบคือ...."ภาษามคธ"

อธิบายให้เห็นภาพกันชัดเจนนะ ก็เหมือนกับคำว่า "ตำรวจ".........ถามว่า"ตำรวจ"เนี่ยะใช่ "คน" มั๊ย? .คำตอบคือ..."ตำรวจไม่ใช่คน".....เพราะอะไรหน่ะหรอ......ก็เพราะว่า"ตำรวจ"เป็นแค่"หน้าที่"....ไม่ใช่คนซะหน่อย

ก็เหมือนกันแหละน๊า "บาลี" ไม่ใช่ภาษา แต่"บาลี"เป็นหน้าที่....ถามว่า"บาลี"มีหน้าที่อะไร?.........ถ้าตำรวจมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง......"บาลี" ก็จะมีหน้าที่ "รักษาพระพุทธวัจจนะ รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ในรูปของพระธรรม" นี่แหละๆ


(เป็นการทำความเข้าใจก่อนเริ่มเรียนบาลีของทุกวัดทุกสำนักเรียนในประเทศไทยนะ ไม่เชื่อก็ลองบวชแล้วเรียนดูสิ อิอิ)




ที่มาทั้งหมดของพระธรรม จะเต็มไปด้วยบาลีทั้งนั้น เพราะบาลีมีหน้าที่ในการรักษาพระธรรมนี่เอง

พระธรรม ก็คือ 1 ในรัตนะ 3 อันเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย (พระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์)


ลองนึกดูให้ดี เราเคยท่องกันปาวๆๆเวลาที่พระจะให้ศีลว่า ว่า "พุทธังสะระณังคัจฉามิ ธัมมังสะระณังคัจฉามิ สังฆังสะระณังคัจฉามิ ทุติยัมปิฯ ตะติยัมปิ"

คุ้นกันบ้างไหมหนอ!!! .........คำถามคือ.ที่ท่องไปหน่ะ "รู้ความหมาย" หรือเปล่า? และที่สำคัญกว่านั้น "เมื่อรู้แล้ว นำมาปฏิบัติตามหรือเปล่า?"

ทีนี้มาดูความหมายกัน



พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ 2
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ 2
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ 2

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ 3
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ 3
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นที่จะมาเป็นที่พึ่งที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ 3...



เห็นมั๊ย เราพูดตอกย้ำ ตั้ง 3 ครั้ง ว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ไม่มีสิ่งอื่นจะมาเป็นที่ระลึกยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว!!!!


และ 1 ในนั้น ก็คือ พระธรรม อันเป็น คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ไงที่เราบอกว่า "พระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด"

พระธรรม ได้รวบรวมไว้แล้วในรูปของ "พระไตรปิฎก"(แปลว่า 3 ตะกร้า) ทั้ง 84,000 ข้อ แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ คือ พระวินัยปิฎก,พระสุตันตปิฏก,พระอภิธรรมปิฏก

ทั้งหมดทั้งมวลของพระธรรมคำสอน มีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเพื่อ "พระนิพพาน" ความหลุดพ้น เมื่อศึกษาที่เรียกว่า"ปริยัติ"แล้ว ก็นำสิ่งที่ศึกษามา"ปฏิบัติ" เพื่อให้เกิดผลคือ"ปฏิเวธ"



เมื่อยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดแล้ว ก็ต้องศึกษาให้ถ่องแท้ ให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร?



อาการ "หลงธรรม" ที่คุณว่าหน่ะ มันเกิดจากการที่คุณนำเอาความเห็นส่วนตัว ไปใช้อธิบายใน"พระธรรม"ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง

ไปตั้งกฎเอง ไปเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของ"พระธรรม".......อย่างประเด็นเรื่องศีล...วัตถุประสงค์ของการรักษาศีลที่แท้จริงที่มีกล่าวในพระธรรมก็มีบอกไว้อยุ่แล้ว อาทิเช่น ศีลข้อ 1 วัตถุประสงค์คือเป็นการกำจัดกิเลสตระกูลโทสะ นี่ไง ศีลมีไว้เพื่อขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง!!!!!

แต่คุณไปตีความหมายผิดไปจากวัตถุประสงค์เดิมของศีล....แบบนี้ก็จะเรียกว่า....."สีลัพพตปรามาส".....คือ...การรักษาศีลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ทำให้กิเลสเพิ่มพูนขึ้น.....ถามว่าคิดแบบนี้มันจะทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?.....คำตอบคือ.......เป็นกิเลสตระกูลหนึ่งที่เรียกว่า "โมหะ" คือ "ความหลง" ......หลงเข้าใจผิด,หลงเข้าใจวัตถุประสงค์ของศีลผิดไปจากเดิมที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสวางไว้........เห็นหรือยัง?????



************จะทำอะไรก็พึงตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า "เพื่ออะไร?"  แล้ว"ศีล,ธรรม" เนี่ยะ "มีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเพื่ออะไร?" และสิ่งที่ทำไปนั่นหน่ะมันขัดกับ "ศีล "ขัดกับ "ธรรม" หรือเปล่า?************





ถือว่าทั้งหมดนี้เป็นการแนะนำก็แล้วกันนะ จะบอกทิ้งท้ายเอาไว้ให้ศึกษาให้ถ่องแท้ ให้เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงละกัน......

พระธรรม ทุกหมวดหมู่ จะมีอยู่ใน "พระไตรปิฎก" ทั้ง 45 เล่มหมดแล้ว ลองอ่านศึกษาดู..........(พระไตรปิฎก เป็นคำสอนดั้งเดิม เป็นการรวบรวมพระธรรมวินัยตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย จะใช้ในนิกายเถรวาทอย่างประเทศไทยก็แบบเดียวกัน ในเมื่อเป็นการรวบรวมพระธรรมวินัยตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าดำรงค์สังขารอยู่ แล้วคงไม่ผิดพลาด บิดเบือนหรอก)

เรื่องศีล เรื่องสาธิ เรื่องปัญญา เรื่องการปฏิบัติเพื่อพระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ถ้าจะให้เข้าใจให้ละเอียดขึ้นลองศึกษาดูใน "คัมภีร์วิสุทธิมรรค" (รจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านเป็นพระอรหันต์ ถือเป็นหลักฐานชั้นรองจากพระไตรปิฎก ที่เขียนขึ้นโดยพระภิกษุผู้บรรลุอรหันต์หมดกิเลสแล้ว เป็นเหมือนการนำพระไตรปิฎกมาขยายความนั่นเอง)..........






ทีนี้ก็จะตอบได้แล้วสินะว่า "ใครหลงธรรมกันแน่"

หลงติดอยู่แต่กับ"ทิฏฐธัมมิกัตถะ"ในปัจจุบัน หลงติดอยู่กับ "สัมปรายิกัตถะ"ในอนาคต มองเป้าหมายยที่แท้จริงที่ "ปรมัตถะ"จะดีกว่านะ.......จะไำด้ไม่ต้องมาบอกว่ามีพระหลายรูปหลงติดตรงนี้อยู่จึงทำให้ไม่เจริญในธรรมเสียทีอีก....ฟังแล้วขัดหูจัง....เพราะอะไรหน่ะหรอ....ก็เพราะคุณก็เป็น 1 ใน "ผู้หลงธรรม" เหมือนกันนั่นแหละ..........






ราตรีสวัสดิ์....ฝานหวานน๊า ชาวเมืองกาหลงที่น่าร๊ากกทุกคน
Naiin โพสต์เมื่อ 7-12-2011 08:58 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ธรรมะบังพระธรรม  ธรรมะเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม สำผัส แตะต้องได้ รู้ เข้าใจ แต่ขาดการเข้าถึง   บางที คนที่ศึกษา ธรรมะมากๆ กลับ มีตัวกูของกู มีอีโก้สูง แต่พระธรรม เป็นสภาวะ นึก เอา คิดเอา ไม่ได้ ต้องผ่านการเข้าถึง เท่านั้น เพราะเป็นสภาวะ
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับโพสต์นี้ได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครเป็นชาวเมืองเสน่ห์กาหลง

รายละเอียดเครดิต

ปิด

เว็บมาสเตอร์แนะนำย้อนกลับ /1 ถัดไป

รายชื่อผู้กระทำผิด|Archiver|Mobile|เมืองเสน่ห์กาหลง (Khalong Charming Town)

GMT+7, 3-5-2024 06:11 , Processed in 0.133711 second(s), 5 queries , File On.

Powered by Discuz! X3.4

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้