เมืองเสน่ห์กาหลง มหาเสน่ห์ มหาเมตตา มหานิยม
Khalong Amulet
ซ่อนแถบด้านข้าง

กรรมฐาน 40 วิธี

[คัดลอกลิงก์]
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:55 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ
  • รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
  • เวทนา ได้แก่ ระบบรับหรือรู้สึกสิ่งที่สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
  • สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
  • สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
  • วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ หลังจากแยกแยะแล้ว

ขันธ์นี้ อาจเรียก "ขันธ์ 5" เบญจขันธ์ หรือ ขันธปัญจก ก็ได้
ตัวเลขทั้ง 7 ในเบอร์มือถือ สามารถบ่งบอกนิสัยตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ อย่ารอให้ชีวิตคุณดีก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเลขมือถือให้ดี คุณต้องเปลี่ยนเลขดีก่อน ชีวิตคุณถึงจะดี!! ตัวเลขเสียๆ มักดึงดูดพลังงานเสียๆ เข้ามาทำให้เราผิดหวังในชีวิต ตรงกันข้าม ตัวเลขดีๆ มักดึงดูดพลังงานด้านดีๆ เข้ามาในชีวิต ผนวกกับบุญกรรมเก่าของแต่ละคนว่าจะไปสุดที่ตรงไหน เลขบางตัวเหมาะกับคนหนึ่ง แต่เป็นเลขเสียกับอีกคนหนึ่ง ศาสตร์พลังงานเลขมือถือ บางส่วนอิงจากโหราศาสตร์ไทย บางส่วนมาจากการเก็บสถิติ ศาสตร์เลขมือถือต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ในการวางตัวเลขมือถือให้เหมาะสม หลายคนเมื่อทราบผลการวิเคราะห์เบอร์มือถือของตนแล้วว่า ดี ร้าย อย่างไร แต่ยังพร้อมยอมทนใช้อยู่ ไม่รู้ทำไม เหตุผลง่ายนิดเดียว "เพราะทุกคนมีกรรมเป็นของตน" เมื่อถึงเวลา ฟ้าจะเปิดทางให้ท่านเปิดใจรับเรื่องมงคลดีๆ เข้ามาเสริมความรุ่งเรืองชีวิตท่านเอง จงจำไว้ ดวงคนเลือกเบอร์มาใช้เอง เบอร์ใครเบอร์มัน ไม่ซ้ำกัน หากท่านศรัทธาในศาสตร์พลังตัวเลขแล้ว ขออย่าลังเล หรือสงสัย อย่ารีรอทนใช้เบอร์เสียๆ เพื่อดึงดูดเรื่องร้ายๆ มารอเพื่อส่งผลแล้วค่อยเปลี่ยนเบอร์มือถือ วันนี้ คุณมีทางเลือกใช้ชีวิตแบบติดเทอร์โบได้ มัวช้าอยู่ทำไม? บริการวิเคราะห์เบอร์มือถือ วางเลขมงคล เรื่องการงาน การเงิน ความรัก โทร 09ุ ุ42282289 LINE ID: cholvibul
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:56 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก
ตัณหา ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท
ตัณหา ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้
ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก
ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:56 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา 3 อย่างนี้
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:56 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ตัณหา 6
ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
  • รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
  • สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
  • คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
  • รสตัณหา คือ อยากได้รส
  • โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
  • ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์
ตัณหาทั้ง 6 นี้ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:57 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ธรรมะที่เกียวข้อง
  • จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
  • จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา 1 การได้เพราะอาศัยการแสวงหา 1 การวินิจฉัยเพราะอาศัยการได้ 1 ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย 1 ความหมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ 1 ความหวงแหนเพราะอาศัยความหมกมุ่น 1 ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน 1 การจัดการอารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ 1 ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตราการทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียดว่ามึงๆ และพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการนี้แล ฯ
flame-rakdee001 โพสต์เมื่อ 26-11-2011 18:04 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
สาธุ
kaineverdie โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:03 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
สุดยอดเลยท่าน....
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:11 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ตอบกลับ 37# kaineverdie


    สาธุ
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:23 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับที่เข้ามาร่วมกันศึกษาธรรมะ
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:24 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
                           บุญคืออะไร
บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข เปรียบได้กับ "ไฟฟ้า" ซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่เราสามารถรับรู้อาการของไฟฟ้าได้
ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้[
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:25 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
วิธีทำบุญ
  • ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
  • ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
  • ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
  • อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
  • เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
  • ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
  • ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
  • ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
  • ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
  • ทิฏฐุชุกัมภ์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง

อีกนัยหนึ่ง บุญหมายถึงสิ่งที่คนควร ก็ทำ ซึ่งจะนำความสุขมาหาตนและคนอื่น
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:25 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ทาน หมายถึง การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ วัตถุที่พึงให้
ทานที่แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่งเพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความกรุณาสงสารบ้าง
ทานที่แปลว่า วัตถุที่พึงให้ ย่อมาจาก "ทานวัตถุ" หมายถึงสิ่งของสำหรับให้สำหรับเสียสละให้ผู้อื่น ได้แก่สิ่งของที่ถวายพระ สิ่งของที่ควรนำไปให้เพื่อตอบแทนบุญคุณแก่ผู้มีพระคุณ เช่นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่าไทยทาน บ้าง ไทยธรรม บ้าง มี 10 อย่างได้แก่ อาหาร, น้ำ, เครื่องนุ่งห่ม, ยานพาหนะ, มาลัยและดอกไม้, ของหอม (ธูปเทียน), เครื่องลูบไล้ (สบู่เป็นต้น), ที่นอน, ที่อยู่อาศัย, และประทีป (ไฟหรือไฟฟ้า) การให้ทานวัตถุ 10 อย่างนี้มีผลอานิสงส์มากเพราะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีโทษ ไม่มีพิษภัยแก่ผู้รับ การเลือกของที่จะให้บัณฑิตสรรเสริญ ด้วยจิตใจที่ดีงาม
ทานเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ทานมัย" คือบุญที่เกิดจากการให้ เป็นสังคหวัตถุ คือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้ และเป็นบ่อเกิดแห่งบารมีที่เรียกว่า ทานบารมี
การให้ทานมีวัตถุประสงค์สำคัญในการคลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความโลภในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้เกิดความ ใส สว่าง สะอาดของจิตใจขึ้นมา
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:26 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
  • ประเภท
  • อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ข้าว(อาหาร)และน้ำเป็นทรัพย์โดยปรมัตถ์ สิ่งอื่นเป็นทรัพย์โดยบัญญัติเพราะเกิดจากการสมมุติของของคนที่ทำให้เกิดความจำเป็น เช่น เสื้อผ้าถ้าใส่กันอาย เงินทองเพชรที่กินไม่ได้และไม่มีประโยชน์
  • อภัยทาน คือการยกโทษด้วยการไม่พยาบาทจองเวร บัณฑิตกล่าวเป็นทานที่ให้ได้ยากที่สุด โดยเฉพาะการให้อภัยศัตรูหรือผู้ที่ทำร้ายตนอย่างสาหัส
  • วิทยาทาน คือการให้ความรู้ทางโลก
  • ธรรมทาน คือการให้ความรู้ทางธรรม คือการให้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ทางพุทธศาสนา ชื่อว่าให้ทุกอย่าง

ใน 4 อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ทานอื่นๆช่วยค้ำจุนชีวิตทำให้เขามีที่พึ่งอาศัยในชาตินี้ แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไปทั้งชาตินี้และชาติหน้า
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:27 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
มหาทาน
ทานที่ให้ได้ยาก
  • ทานระดับบารมี ให้กำลังสละแรงกายและเวลาของตน
  • ทานระดับอุปบารมี 3อย่าง คือ 1.ให้เลือดเนื้ออวัยวะในร่างกายตน 2.ให้ภรรยาของตน 3.ให้บุตรธิดาของตน
  • ทานระดับปรมัตถบารมี คือให้ชีวิตของตน
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 20:27 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา
ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ
  • สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้
  • วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา ก็ได้

ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับโพสต์นี้ได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครเป็นชาวเมืองเสน่ห์กาหลง

รายละเอียดเครดิต

ปิด

เว็บมาสเตอร์แนะนำย้อนกลับ /1 ถัดไป

รายชื่อผู้กระทำผิด|Archiver|Mobile|เมืองเสน่ห์กาหลง (Khalong Charming Town)

GMT+7, 2-5-2024 19:58 , Processed in 0.141168 second(s), 5 queries , File On.

Powered by Discuz! X3.4

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้