เมืองเสน่ห์กาหลง มหาเสน่ห์ มหาเมตตา มหานิยม
Khalong Amulet
ซ่อนแถบด้านข้าง

กรรมฐาน 40 วิธี

[คัดลอกลิงก์]
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:45 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ
  • ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.
  • ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
  • ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
  • ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน
  • ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง
  • ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
  • ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง
  • ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา
  • ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
    • เพื่อละนิวรณ์ 5
    • เพื่อละกามคุณ 5
    • เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด
    • เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5
    • เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
    • เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ(พระโสดาบันเกิดไม่เกิน7ชาติเป็นอย่างมาก)ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด
    • เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
    • เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    • เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์
    • เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย
    • เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
    • อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ
    • ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
    • ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
    • ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    • ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่ไม่ปราศจากสตินั่นเอง
    • ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
    • ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    • ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
    • ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ
ตัวเลขทั้ง 7 ในเบอร์มือถือ สามารถบ่งบอกนิสัยตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ อย่ารอให้ชีวิตคุณดีก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเลขมือถือให้ดี คุณต้องเปลี่ยนเลขดีก่อน ชีวิตคุณถึงจะดี!! ตัวเลขเสียๆ มักดึงดูดพลังงานเสียๆ เข้ามาทำให้เราผิดหวังในชีวิต ตรงกันข้าม ตัวเลขดีๆ มักดึงดูดพลังงานด้านดีๆ เข้ามาในชีวิต ผนวกกับบุญกรรมเก่าของแต่ละคนว่าจะไปสุดที่ตรงไหน เลขบางตัวเหมาะกับคนหนึ่ง แต่เป็นเลขเสียกับอีกคนหนึ่ง ศาสตร์พลังงานเลขมือถือ บางส่วนอิงจากโหราศาสตร์ไทย บางส่วนมาจากการเก็บสถิติ ศาสตร์เลขมือถือต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ในการวางตัวเลขมือถือให้เหมาะสม หลายคนเมื่อทราบผลการวิเคราะห์เบอร์มือถือของตนแล้วว่า ดี ร้าย อย่างไร แต่ยังพร้อมยอมทนใช้อยู่ ไม่รู้ทำไม เหตุผลง่ายนิดเดียว "เพราะทุกคนมีกรรมเป็นของตน" เมื่อถึงเวลา ฟ้าจะเปิดทางให้ท่านเปิดใจรับเรื่องมงคลดีๆ เข้ามาเสริมความรุ่งเรืองชีวิตท่านเอง จงจำไว้ ดวงคนเลือกเบอร์มาใช้เอง เบอร์ใครเบอร์มัน ไม่ซ้ำกัน หากท่านศรัทธาในศาสตร์พลังตัวเลขแล้ว ขออย่าลังเล หรือสงสัย อย่ารีรอทนใช้เบอร์เสียๆ เพื่อดึงดูดเรื่องร้ายๆ มารอเพื่อส่งผลแล้วค่อยเปลี่ยนเบอร์มือถือ วันนี้ คุณมีทางเลือกใช้ชีวิตแบบติดเทอร์โบได้ มัวช้าอยู่ทำไม? บริการวิเคราะห์เบอร์มือถือ วางเลขมงคล เรื่องการงาน การเงิน ความรัก โทร 09ุ ุ42282289 LINE ID: cholvibul
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:48 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน) คือ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ

แบ่งตามวิธีการในการพัฒนาตน
พระอรหันต์ 2 คือ
  • พระวิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง
  • พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ


 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:49 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แบ่งตามคุณวิเศษ
พระอรหันต์ 4 คือ
  • พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
  • พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ระลึกชาติได้) จุตูปปาตญาณ (รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)อันเป็นที่เกิดจากการเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างแท้จริงจึงรู้เหตุการณ์ที่จะเป็นไปได้ทั้งสิ้น อาสวักขยญาณ (รู้ทำอาสวะให้สิ้น) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา และถือวัตรธุดงค์
  • พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือทิพฺพจักขุ ตาทิพย์ (คือฤทธิที่สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ใกล้ไกลได้ มีพระอนุรุทธะ เป็นเอกทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านการมีตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นโลกใบนี้ ราวกับ มองเม็ดมะขามป้อมบนฝ่ามือ) ทิพยโสต หูทิพย์อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ (โดยเฉพาะมโนมยิทธิการแยกร่างและจิต เป็นฤทธิที่แสดงได้เฉพาะพระอรหันต์ประเภทฉฬภิญโญเท่านั้น ) เจโตปริยญาณ (ทายใจผู้อื่นได้) บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้ ) และอาสวักขยะญาณ (ญานที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสมาปัตติ
  • พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4) คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง 4 ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ ธัมมะปฏิสัมภิทาความแตกฉานในธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาความแตกฉานในภาษา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ
  • อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนา และเล่าเรียน ตรึกตรอง ทรงจำและแสดง ซึ่งพระธรรมวินัยที่พระศาสดาทรงตรัสสอน (ไตรปิฎก) ซึ่ง
  • การเล่าเรียนธรรมอานิสงค์ได้ธรรมปฏิสัมภิทา รู้จริงในเหตุของสรรพสิ่งในธรรมชาติ
  • การตรึกตรองธรรม อานิสงค์ได้อัตถปฏิสัมภิทารู้จริงในผลลัพที่ลึกซึ้ง
  • การท่องทรงจำธรรม อานิสงค์ได้นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้จริงในภาษาต่างๆในโลก
  • การเทศนาแสดงธรรม อานิสงค์ได้ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้จริงในการแก้ไขปัญหาเข้าใจในนิสัยสันดานของสัตว์โลก
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:49 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แบ่งตามคุณสมบัติเฉพาะตน
พระอรหันต์ 5 คือ
  • พระปัญญาวิมุต
  • พระอุภโตภาควิมุต
  • พระเตวิชชะ
  • พระฉฬภิญญะ
  • พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ

พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ 5 นัย คือ
  • ไกลจากกิเลส
  • กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
  • เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
  • เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
  • ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:50 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อสังสารวัฏได้แล้วแบ่งได้หลายประเภทคือแบ่งอย่างใหญ่ได้เป็น พระเสขะและพระอเสขะ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภทคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ และยังแบ่งย่อยเป็น 8 ประเภท จัดเป็น 4 คู่ได้อีก
อริยบุคคลแบ่งตามประเภทใหญ่[แก้] เสขะ
เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ คือยังต้องศึกษาไตรสิกขาคืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา เพื่อบรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปอีก เรียกเต็มว่า พระเสขะ หรือ เสขบุคคล เสขะ คือพระอริยบุคคลที่ยังไม่ได้บรรลุ อรหันตผล หรือยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี เสขะ หากได้บรรลุอรหันตผลเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นอันพ้นจากความเป็นเสขะ และได้ชื่อว่าใหม่ว่า อเสขะ[แก้] อเสขะ
อเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญาอีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้ว เรียกเต็มว่า พระอเสขะ หรือ อเสขบุคคล อเสขะ ได้แก่พระอริยบุคคลระดับสูงสุดคือพระอรหันต์ ผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้องบำเพ็ญเพื่อละกิเลสอีก
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:51 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อริยบุคคลแบ่งตามประเภทใหญ่[แก้] เสขะ
เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ คือยังต้องศึกษาไตรสิกขาคืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา เพื่อบรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปอีก เรียกเต็มว่า พระเสขะ หรือ เสขบุคคล เสขะ คือพระอริยบุคคลที่ยังไม่ได้บรรลุ อรหันตผล หรือยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี เสขะ หากได้บรรลุอรหันตผลเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นอันพ้นจากความเป็นเสขะ และได้ชื่อว่าใหม่ว่า อเสขะ[แก้] อเสขะ
อเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญาอีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้ว เรียกเต็มว่า พระอเสขะ หรือ อเสขบุคคล อเสขะ ได้แก่พระอริยบุคคลระดับสูงสุดคือพระอรหันต์ ผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้องบำเพ็ญเพื่อละกิเลสอีก
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:51 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อริยบุคคลแบ่งตามประเภทบุคคล[แก้] โสดาบัน
โสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสธรรม ผู้แรกถึงกระแสธรรม (คืออริยมรรค) เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทแรกใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ สังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ
  • สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่เป็นตัวตนของเรา
  • วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่
  • สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา

ความเป็นพระโสดาบันนี้ก็เช่นเดียวกับความเป็นพระอริยบุคคลประเภทอื่นๆ ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต(นักบวช) เท่านั้น แม้ คฤหัสถ์ คือชายหรือหญิงผู้ครองเรือน ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้ เช่น ในสมัยพุทธกาลคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น
การเข้าถึงกระแสธรรมของพระโสดาบันนั้น เป็นการยกระดับจิตใจของท่านอย่างถาวร ทำให้ท่านไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้อีก เป็นผู้ที่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ (เช่น นรก หรือ เดียรฉาน) ทั้งยังเป็นผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน
โสดาบันอาจจำแนกได้เป็น
  • จูฬโสดาบัน​ คือ ​กัลยาณปุถุชน​ผู้​แทงตลอดลำ​ดับแห่งนามรูปปริ​เฉทญาณ​ ​ที่​ ๑ ​ถึง ​ลำ​ดับโคตรภูญาณที่​ ๑๓ ​ตามสมควร
  • มหา​โสดาบัน​ คือ ​อริยบุคคล​ผู้​แทงตลอด​ใน​ลำ​ดับแห่งญาณ​ ๑๖ ​โดย​สมบูรณ์​
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:51 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
สกทาคามี
สกทาคามี หรือ สกิทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่ ๒ ใน ๔ ประเภท ที่เรียกว่า "ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว" หมายถึง พระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพาน ผู้ได้บรรลุสกทาคามิผลคือผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการแรกได้เช่นเดียวกับพระโสดาบัน อีกทั้งทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือ
  • กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม คือ การความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจ
  • ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ คล้ายความพยาบาทอย่างละเอียด

หากสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามี
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:52 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อนาคามี
อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะนิพพานจากพรหมโลกนั้นเลย เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทที่ ๓ ใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) อีก ๕ ประการ คือ
  • รูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ
  • อรูปราคะ หมายถึง ความพอใจในอรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ
  • มานะ หมายถึง ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เป็นพระอนาคามี (แม้ว่าจะเป็นจริงๆ) เป็นต้น
  • อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งของจิต
  • อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง

อนึ่งพึงเข้าใจว่า แม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชน (ผู้ยังไม่เป็นบรรลุเป็นพระอริยบุคคล) เช่น มานะ อุทธัจจะ หรือ อวิชชา แต่สังโยชน์เบื้องสูงอันเป็นกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจของพระอนาคามีนั้น เป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมาก
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:52 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
อรหันต์ดูบทความหลักที่ พระอรหันต์

พระอรหันต์ คือ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ[แก้] อริยบุคคล แบ่งตามประเภทย่อย
  • คู่ที่ 1 พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค.... โสดาปัตติผล
  • คู่ที่ 2 พระผู้ตั้งในสกิทาคามิมรรค.... สกิทาคามิผล
  • คู่ที่ 3 พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค.... อนาคามิผล
  • คู่ที่ 4 พระผู้ตั้งอยู่ในอรหันตมรรค.... อรหันตผล
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:52 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 หมายถึงข้อสำหรับศึกษา, การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา, การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่างคือ
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:53 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
ฌาน (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก[แก้] ฌาน 2
ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
  • อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
  • ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล
  • วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
  • มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
  • ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพาน อันมีลักษณะเป็น สุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
[แก้] ฌาน 2 ประเภท
แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
  • รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร
  • อรูปฌาน 4 ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร

เมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน 4" จะหมายถึง รูปฌาน 4 และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า "ฌาน 8" จะหมายถึง รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน ได้มีการรวบรวมไว้เป็น กรรมฐาน 40 สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้เกิดฌาน คือ นิวรณ์ 5[แก้] ฌานสมาบัติ
สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึ่งเข้าถึง มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ เป็นต้น สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ 8 อันได้แก่ ฌาน 8 (รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4)
ในบางกรณี รูปฌาน 4 อาจถูกจำแนกใหม่ในรูปแบบของ ปัญจมฌาน เป็นการจำแนกตามแบบพระอภิธรรม เรียกว่า ปัญจกนัย การจำแนกตามแบบพระสูตร เรียกว่า จตุกนัย
ที่ต้องจำแนกเป็นปัญจมฌาน เนื่องจากฌานลาภี(ผู้ได้ฌาน)มี 2 ประเภท คือ ติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) และ มันทบุคคล (ผู้รู้ช้า)
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 หมายถึง สมาบัติ 8 กับ นิโรธสมาบัติ
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:53 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
วิชา มาจากภาษาบาลี วิชฺช หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนหรือฝึกฝน บางครั้งอาจหมายถึง ความรู้ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราจะพบเห็นวิชาได้บ่อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา โดยใช้วิชาเป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างเรื่องที่สอน เช่น วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น
อนึ่ง คำว่า วิทยา, พิทยา มาจากภาษาสันสกฤต วิทฺย, พิทฺย ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก วิชฺช เช่นกัน แต่ปัจจุบันได้ใช้ในความหมายว่า ความรู้ความสามารถที่ถูกต้องตรงตามแบบแผน ดังที่เคยมีบุคคลหนึ่งได้ทดลองและพิสูจน์มาแล้ว เหมือนแนวคิดของวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ในทางพระพุทธศาสนา วิชชา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ เหตุและหนทางแห่งความดับทุกข์ ตรงข้ามกับคำว่า อวิชชา ซึ่งหมายถึงความไม่รู้แจ้ง
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:54 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
 เจ้าของ| non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:54 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
กิจในอริยสัจ 4
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  • ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  • ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  • สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  • ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  • สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    • นี่คือทุกข์
    • นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    • นี่คือความดับทุกข์
    • นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  • กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    • ทุกข์ควรรู้
    • เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    • ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    • ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  • กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    • ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    • เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    • ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    • ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับโพสต์นี้ได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครเป็นชาวเมืองเสน่ห์กาหลง

รายละเอียดเครดิต

ปิด

เว็บมาสเตอร์แนะนำย้อนกลับ /1 ถัดไป

รายชื่อผู้กระทำผิด|Archiver|Mobile|เมืองเสน่ห์กาหลง (Khalong Charming Town)

GMT+7, 2-5-2024 17:37 , Processed in 0.120495 second(s), 5 queries , File On.

Powered by Discuz! X3.4

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้